เมนู

9. ปฐมพรหมจริยสูตร



พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์


[111] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์
และผลแห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[112] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าพรหมจรรย์.
[113] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน คือ
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า ผลแห่ง
พรหมจรรย์.
จบปฐมพรหมจริยสูตรที่ 9

10. ทุติยพรหมจริยสูตร



พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์


[114] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์
และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[115] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่า พรหมจรรย์.

[116] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง
พรหมจรรย์.
จบทุติยพรหมจริยสูตรที่ 10
จบปฏิปัตติวรรคที่ 4

ปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัตติสูตรที่ 1 แห่งปฏิปัตติวรรคที่ 4.
บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตึ คือซึ่งไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. บทว่า มิจฺ-
ฉาปฏิปนฺนํ
คือผู้ไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. สูตรหนึ่ง ท่านกล่าวด้วยสามารถ
ธรรม สูตรหนึ่งด้วยสามารถบุคคล. บทว่า อปาราปารํ ได้แก่ ซึ่งนิพพาน
จากวัฏฏะ ชนเหล่าใด ถึงซึ่งฝั่งแล้วก็ดี กำลังถึงก็ดี จักถึงก็ดี ชนเหล่านั้น
ทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ในบทว่า ปารคามิโน ดังนี้.
บทว่า ตีรเมวานุธาวติ ความว่า ย่อมวิ่งไปสู่วัฏฏะนั่นเอง คือ
ย่อมเที่ยวไปในวัฏฏะ. บทว่า กณฺหํ คือ อกุศลธรรม. บทว่า โอกา อโนกํ
ได้แก่ จากวัฏฏะอาศัยนิพพาน. บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภ หมายถึง
อาศัย.
บทว่า ปริโยทเปยฺย ได้แก่ พึงทำให้บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตกฺเลเสหิ
ได้แก่ ด้วยนิวรณ์อันทำจิตให้เศร้าหมอง. บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่
ในโพชฌงค์ 7.