เมนู

อบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้
ตรัสรู้ ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในความสละคืน
ความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ
มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.
จบปารสูตรที่ 4

5. ปฐมสามัญญสูตร



ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล


[99] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ
(ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[100] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าสามัญญะ.
[101] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน คือ โสดาปัตติผล
สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่าสามัญญผล.
จบปฐมสามัญญสูตรที่ 5

6. ทุติยสามัญญสูตร



ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล


[102] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ
และประโยชน์แห่งสามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[103] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าสามัญญะ.
[104] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน
ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง
สามัญญะ.
จบทุติยสามัญญสูตรที่ 6

7. ปฐมพรหมัญญสูตร



ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล


[105] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ
(ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้ง
หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[106] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก
ว่าพรหมัญญะ.