เมนู

[87] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุตติยะ กามคุณ 5 เหล่านี้
เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ 5 เป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ
น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู . . . กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก . . . รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . .
โผฏฐัพพะที่พึ่งรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก
ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุตติยะ กามคุณ 5 เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.
[88] ดูก่อนอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8 บุคคล
พึงเจริญ เพื่อละกามคุณ 5 เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ 8
เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์ 8 บุคคลพึงเจริญเพื่อละกามคุณ 5 เหล่านี้แล.
จบอุตติยสูตรที่ 10
จบมิจฉัตตวรรคที่ 3

มิจฉัตตวรรควรรณนาที่ 3



อรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น



พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ 1 แห่งมิจฉัตตวรรคที่ 3.
บทว่า มิจฺฉตฺตํ แปลว่า มีความผิดสภาวะ. บทว่า สมฺมตฺติ
แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ. บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตฺาธิกรณเหตุ แปลว่า
เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด. อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด. บทว่า
นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม. บทว่า ญายํ ธมฺมํ ได้แก่ อริยมรรคธรรม.

บทว่า มิจฺฉาญาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ
ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์. วัฏฏะและวิวัฏฏะ
ในมรรค 4 พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรที่ 3 เป็นต้นเหล่านี้. ส่วนบุคคล
ที่ทรงถามธรรมที่ทรงจำแนก มีอยู่ในพระสูตรทั้ง 2 สุดท้ายในที่นั้น. ทรง
แสดงบุคคลโดยธรรมแล้วอย่างนี้. บทว่า สุปฺปวตฺติโย แปลว่า เป็นที่ตั้ง
แห่งความเป็นไปได้ง่าย. อธิบายว่า บุคคลย่อมยังจิตให้แล่นไปยังทิศอัน
ปรารถนา และต้องการแล้วได้ ฉันใด บุคคลก็ย่อมสามารถให้หม้อกลิ้งไป
ได้ฉันนั้น. บทว่า สอุปนิสํ สปริกฺขารํ ได้แก่ พร้อมทั้งปัจจัย พร้อม
ทั้งบริวาร คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถามิจฉัตตวรรคที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. มิจฉัตตสูตร 2. อกุศลธรรมสูตร 3. ปฐมปฏิปทาสูตร
4. ทุคิยปฏิปทาสูตร 18. ปฐมอสัปปุริสสูตร 6. ทุติยอสัปปุริสสูตร
7. กุมภสูตร 8. สมาธิสูตร 9. เวทนาสูตร 10. อุตติยสูตร พร้อมทั้ง
อรรถกถา