เมนู

4. ทุติยปฏิปทาสูตร



ว่าด้วยญายธรรม


[68] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉา-
ปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อม
ไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็
มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯ ลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า
มิจฉาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอัน
เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.
[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์
หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอัน
เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน
ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ
บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความ
ปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.
จบทุติยปฏิปทาสูตรที่ 4

5. ปฐมอสัปปุริสสูตร



ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ


[70] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและ
สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[71] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด
พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.
[72] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพ
ชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.
จบปฐมอสัปปุริสสูตรที่ 5

6. ทุติยอสัปปุริสสูตร



ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า


[73] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษ
ผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.
[34] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.