เมนู

เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่า
นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่
มิใช่ฝั่ง.
จบภาวนาสูตรที่ 4

อรรถกถาอนนุสสุตสูตร



ในวรรคที่ 4 สูตรที่ 5

คำว่า เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว หมายความว่า
พิจารณาเวทนาใดแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เวทนาที่ท่านรู้แจ้งแล้ว
นั่นแล ย่อมเกิดขึ้น. เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว
ชื่อว่า ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. ก็แล แม้เวทนาที่เป็นไปในอารมณ์ที่กำหนด
ถือเอาเหล่าใดที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเกิดขึ้น เวทนาที่รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ก็ชื่อว่า
ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. แม้ในเรื่องวิตกเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ
คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ 4

5. สติสูตร



ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ


[803] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ
สัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย. ก็อย่างไรเล่า
ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
* สูตรที่ 5 ถึง 10 ไม่มีอรรถกถาแก้

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อม
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ .. . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.
[804] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัด แล้ว
ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่
ไม่ได้. วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่
ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อม
บังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
อย่างนั้นแล. ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย.
จบสติสูตรที่ 5

6. อัญญสูตร



ผู้เจริญสติปัฏฐาน 4 หวังผลได้ 2 อย่าง


[805] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้
สติปัญฐาน 4 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน 4 เหล่า