เมนู

อรรถกถาทุติยเสทกสูตร


ในสูตรที่ 10.

คำว่า นางงามในชนบท หมายถึงนางที่งามที่สุด
ในชนบท ซึ้งเว้นจากโทษประจำตัว 6 อย่าง แล้วประกอบด้วยความงาม
5 อย่าง. ก็เพราะนางนั้นไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก
ไม่ขาวนัก ผิวพรรณแม้จะไม่ถึงทิพย์ แต่ก็เกินผิวพรรณมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น
จึงจัดว่าปราศจากโทษประจำตัว 6 อย่าง. และเพราะประกอบด้วยความงามเหล่านี้
คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม* (นหารุกลฺยาณํ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อว่า
ประกอบด้วยความงาม 5 อย่าง. นางไม่ต้องใช้แสงสว่างจรมาเลย ด้วยแสงสว่าง
ประจำตัวของตนนั่นแหละ ก็ทำให้สว่างในที่มีระยะ 12 ศอก เป็นผิวที่เหมือน
กับดอกประยงค์ หรือเหมือนกับทองคำ นี้เป็นความงามแห่งผิวของนาง.
ส่วนมือเท้าทั้ง 4 และริมฝีปากของนางนั้นเล่า ก็คล้ายกับทาด้วยชาด เหมือน
แก้วประพาฬแดงหรือผ้ากัมพลแดง นี้คือความงามแห่งเนื้อของนาง. ส่วนกลีบ
เล็บทั้ง 20 นั้นเล่า ในทีที่ไม่พ้นจากเนื้อ ก็คล้ายกับเอาชาดมาทาไว้ ที่พ้น
จากเนื้อแล้ว ก็เหมือนกับธารน้ำนม นี้คือความงามแห่งเล็บ* ของนาง. ที่ฟัน
32 ซี่ ซึ่งงอกขึ้นมานั่นเล่า ก็ปรากฏคล้ายเอาเพชรที่เจียระไนแล้วมาเรียงเป็น
แถวไว้ นี้คือความงามแห่งกระดูกของนาง. และต่อให้มีอายุถึง 120 ปี ก็ยัง
สาวพริ้งเหมือนอายุแค่ 16 ปี ผมไม่มีหงอกเลย นี้ คือความงามแห่งวัยของ
นาง. สำหรับในคำว่า มีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง นี้หมายความว่า
กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่า มีกระแส
* คำว่า นหารุกลฺยาณํ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไม่ได้อธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลว่า
เล็บงาม ไม่ใช่เอ็นงามตามศัพท์ อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ 2 หน้า 212
แก้ว่า ฉวิกลฺยาณํ มํสกลฺยาณํ นขกลฺยาณํ (เล็บงาม) อฏฺฐิกลฺยาณํ วยกลฺยาณํ