เมนู

อรรถกถาพรหมสูตร



พึงทราบอธิบายในพรหมสูตรที่ 8
บทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หรือว่าภิกษุทั้งหลาย... ในกาย
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มีในกาล
นั้นเทียว แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ
เพราะทำลายกิเลสได้ จึงตรัสแล้วอย่างนี้.
บทว่า เอกายนํ ที่ไปอันเอก คือ ทางเดี่ยว. บทว่า ชาติขยนฺต-
ทสฺสี ทรงเห็นควานสิ้นชาติและที่สุดชาติ
ความว่า ชื่อว่า นิพพาน
เพราะอรรถว่า สิ้น และเพราะอรรถว่า ที่สุดแห่งชาติ. อธิบายว่า เห็น
นิพพานนั้น. บทว่า ทรงทราบทนทาง ความว่า ทรงทราบหนทางที่เป็น
ทางเอก กล่าวคือทางเป็นไปอันเอก. ทางคือสติปัฏฐานที่เป็นส่วนเบื้องต้น
ท่านเรียกว่า ทางเป็นที่ไปเบื้องหน้าอย่างเอก. อธิบายว่า ทรงรู้ทางนั้น.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ 8

9. ปฐมเสทกสูตร



ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน


[758] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของ
ชาวสุมภะ ชื่อเสทกะ ในสุมภชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาล
ผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้แล้ว เรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า
ดูก่อนเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย มาเถิดมาขึ้นไม้ไผ่ แล้วยืนอยู่บนคอของเรา.
เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รับคำของนักไต่ราวแล้วขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของ
อาจารย์ ครั้งนั้นแล คนจัณฑาลนักไต่ราวจึงพูดกะเมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ว่า
ดูก่อนเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย ท่านจงรักษาเรา เราจักรักษาท่าน เราทั้งสอง
ต่างคุ้มครองกันและกัน ต่างรักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ
และจักลงจากราวไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี.
[759] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว เมทกถา-
ลิกะผู้เป็นศิษย์ได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้จักเป็นอย่างนั้น
หามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน เราทั้งสองต่างคุ้มครองตน ต่าง
รักษาตนอย่างนั้น จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ แสะจักลงจากไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุผลในข้อนั้นมีดังนี้ เหมือนศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะ
ได้พูดกะอาจารย์ ฉะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วย
คิดว่า เราจักรักษาตน พึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น. บุคคล
ผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน.