เมนู

อรรถกถาสูทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสูทสูตรที่ 8
บทว่า สูโท แปลว่า คนทำกับข้าว. บทว่า นานจฺจเยหิ คือ
ต่างชนิด อธิบายว่า ต่างอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า
อมฺพิลคฺเคหิ ได้แก่ มีส่วนเปรี้ยว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล. บทว่า อภิหรติ
ได้เเก่ เหยียดมือออกเพื่อต้องการรับ. บทว่า พหุํ คณฺหาติ ความว่า
เมื่อรับมากโดยรับครั้งเดียวก็ดี รับบ่อย ๆ ก็ดี ก็ชื่อว่า รับมากอยู่นั่นเอง.
บทว่า อภิหารานํ ความว่า รางวัลที่เขายกขึ้นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งนำไป.
บทว่า อุปกฺลิเลสา ได้แก่ นิวรณ์ 5 อย่าง. บทว่า นิมิตฺตํ น อุคฺคณฺหาติ
ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ว่า กัมมัฏฐานนี้ของเรา จดถึงอนุโลมญาณ หรือ
โคตรภูญาณแล้วดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะจับนิมิตแห่งจิตของตนได้. ในพระ-
สูตรนี้ พระองค์ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นบุพภาควิปัสสนาแล.
จบอรรถกถาสูทสูตรที่ 8

9. คิลานสูตร



ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ


[708] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้กรุง
เวสาลี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า
มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษาในกรุงเวลีโดยรอบ
ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก ( ของตน ๆ) เถิด เราจะเข้าจำพรรษา ณ
เวฬุวคามนี้แล. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เข้าจำพรรษาในกรุงเวสาลีโดยรอบ ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก (ของตนๆ).
[709] ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพรรษา ณ เวฬุวคาม
นั้นแหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพรรษาแล้ว อาพาธกล้าบังเกิดขึ้น
เวทนาอย่างหนักใกล้มรณะเป็นไปอยู่. ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงดำรงพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่ทรงพรั่นพรึง. ครั้งนั้น พระองค์
ทรงดำริว่า การที่เรายังไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก ยังไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้ว
ปรินิพพานเสียนั้น หาสมควรแก่เราไม่ ไฉนหนอ เราพึงขับไล่อาพาธนี้เสีย
ด้วยความเพียร แล้วดำรงชีวิตสังขารอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ขับไล่พระประชวรนั้นด้วยความเพียร แล้วทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่. ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรงหายจากความเจ็บป่วย
ไม่นาน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ใต้ร่มเงาแห่งวิหาร.
[710] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง