เมนู

7. มักกฏสูตร



ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร


[701] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้
ยากขรุขระ ไม่เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ถิ่นแห่งขุน
เขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิงเท่านั้น ไม่
ใช่ของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ภูมิภาคแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ ราบเรียบ น่า-
รื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ณ ที่นั้น พวก
พรานวางตังไว้ในทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง. ในลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่
โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น เห็นตังนั้น ย่อมหลีกออกห่าง. ส่วนลิงใดโง่
ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ทั้งนั้นเอามือจับ มือก็ติดตัง มันจึงเอามือข้าง
ที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือออก มือข้างที่สองติดตังอีก มันจึงเอาเท้าจับ
ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองออก เท้าก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าข้างที่สองจับ
ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองงและเท้าออก เท้าที่สองติดตังอีก มันจึงเอาปาก
กัด ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองออก ปากก็ติดตังอีก. ลิง
ตัวนั้นถูกตรึง 5 ประการอย่างนี้แล นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ถึงความ
ฉิบหายแล้ว อันพรานจะพึงกระทำได้ตามความปรารถนา. พรานแทงลิงตัวนั้น
แล้ว จึงดึงออกทิ้งไว้ในที่นั้นเอง ไม่ปล่อยไป หลีกไปตามความปรารถนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องลิงเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ที่ควรเที่ยวไปย่อมเป็น
เช่นนี้ แหละ.
[702] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายว่า
เที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น

อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้อารมณ์. ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของ
ภิกษุคืออะไร. คือ กามคุณ 5. กามคุณ 5 เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้ด้วย
จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด
เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต. . .กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ. . .รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน
ให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ.
[703] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่ง
เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของ
บิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์. ก็อารมณ์
อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร. คือ สติปัฏฐาน 4.
สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของ
บิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.
จบมักกฏสูตรที่ 7

อรรถกถามักกฏสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมักกฏสูตรที่ 7.
บทว่า ทุคฺคา แปลว่า ไปยาก. บทว่า จารี แปลว่า เป็นที่
เที่ยว. บทว่า เลปํ โอฑฺเฑนฺติ ความว่า พวกพรานทำตังผสมด้วยยาง
ต้นไทรย้อยเป็นต้น กำหนดว่า ที่นั้นๆ เป็นที่เดินประจำของพวกลิง ดังนี้
แล้ววางไว้ที่กิ่งต้นไม้เป็นต้น. บทว่า ปญฺโจฑฺฑิโต ความว่า ลิงถูกตรึง
ในที่ทั้ง 5 เหมือนสาแหรกอันตนสอดไม้คานเข้าไปแล้ว จับไว้ฉะนั้น. บทว่า
ถุนํ เสติ ได้แก่ นอนถอนใจอยู่.
จบอรรถกถามักกฏสูตรที่ 7

8. สูทสูตร



ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต


[704] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด
เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด
มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง
ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง. พ่อครัวนั้น. . . ไม่สังเกตรสอาหารของตน
ว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ
ท่านหยิบสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยว
จัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรส