เมนู

ว่าด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น



บทว่า อสุภสญฺญา ได้แก่ ปฐมฌานสัญญาในอสุภะ. บทว่า
มรณสญฺญา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่า เราต้อง
ตายแน่ ชีวิตของเราเนืองด้วยความตาย. บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺญา
ความว่า ในข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น เป็นปฏิกูลสัญญา สำหรับผู้กลืนกินเท่า
นั้น. บทว่า สพฺพโลเก อนภีรตสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้
ความไม่ยินดีเกิดขึ้นอยู่ในโลกทั้งสิ้น.
บุพภาค 2 คือ ปหานสัญญา วิราคสัญญา คือ คลุกเคล้าด้วย
นิโรธสัญญา. ท่านแสดงกัมมัฏฐาน 20 มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้นเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนั้นแล. กัมมัฏฐาน 20 เหล่านั้น 9 เป็นอัปปนา 11 เป็น
อุปจารฌาน. ส่วนในข้อนี้ เรื่องวินิจฉัยที่เหลือมาแล้วในวิสุทธิมรรคแล.
คงคาเปยยาลเป็นต้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว ในมรรคสังยุตแล.
จบอรรถกถาโพชฌงค์สังยุต
ในอรรถกลาสังยุตตนิกายชื่อสารัตถปกาสินี.

สติปัฏฐานสังยุต



อัมพปาลิวรรคที่ 1



1. อัมพปาลิสูตร



ว่าด้วยสติปัฏฐาน 4


[678] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้กรุงเวสาลี
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
[679] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ
ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง.
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน 4. สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน.
[680] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกาย
ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกเสียได้ 1 พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1 พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ 1.