เมนู

มีอารมณ์เดียวด้วยการให้ทรัพย์ ในขณะที่ตนปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้ว
สมาธิสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ ยังอัปปนาให้ถึงพร้อมด้วยอำนาจความที่ตน
ปรารถนาเป็นต้น ตัดขาดแล้ว ซึ่งความฟุ้งซ่าน ทำจิตให้มีอารมณ์เดียว
ดังนั้น จึงเปรียบด้วยคฤหบดีแก้ว. ส่วนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทำความขวนขวายน้อยให้ ด้วยการทำกิจในที่ทั้งปวงให้สำเร็จ อุเบกขาสัม-
โพชฌังครัตนะแม้นี้ เปลื้องจิตตุปบาทจากความหดหู่และความฟุ้งซ่าน ทำ
ความขวนขวายน้อย วางตนไว้ในท่ามกลางประกอบความเพียร ดังนั้น จึง
เปรียบด้วยปริณายกแก้ว. พึงทราบว่า การกําหนดธรรมที่รวมไว้ทั้งหมดเป็น
4 ภูมิ ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ 2

3. มารสูตร *



โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร


[507] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร
และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น. ก็มรรคาเป็น
เครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ 7. โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
มรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.
จบมารสูตรที่ 3
* สูตรที่ 3 ไม่มีอรรถกถาแก้.

4. ทุปปัญญสูตร



เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้


[508] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนโง่ คนใบ้.
[509] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คน
โง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว
โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล อันตน
ไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว.
จบทุปปัญญสูตรที่ 4

อรรถกถาทุปปัญญสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุปปัญญสูตรที่ 4.
บทว่า เอฬมูโค ความว่า คนเมื่อไม่สามารถเพื่อจะเปล่งวาจาทาง
ปากได้ เป็นคนใบ้พูดไม่ได้ เพราะโทษทั้งหลาย. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่าย
ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุปปัญญสูตรที่ 4