เมนู

อรรถกถาจักกวัตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ 2
ในบทว่า รญฺโญ ภิกฺขเว จกฺกวตฺติสฺส นี้ ชื่อว่า พระราชา
เพราะอรรถว่า ทรงยินดีในสิริสมบัติของพระองค์ หรือทรงให้พสกนิกร
ยินดีด้วยสังคหวัตถุ 4 ชื่อว่า เจ้าจักรพรรดิ เพราะอรรถว่า สั่งการอยู่ด้วย
วาจาคล่องแคล่ว ยังจักรให้เป็นไปด้วยบุญญานุภาพว่า ขอจักรรัตนะจงแล่น
ไปตลอดภพ ดังนี้.
บทว่า ปาตุภาวา แปลว่า เพราะปรากฏ. บทว่า สตฺตนฺนํ แปลว่า
กําหนดการถือเอา. บทว่า รตนานํ ได้แก่ แสดงเรื่องที่กําหนด. ส่วน
ความหมายของคำในบทนี้ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความยินดี.
อีกอย่างหนึ่งว่า
ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความ
เคารพ มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก
เป็นของใช้ของสัตว์ผู้ไม่ทราม
ดังนี้.
จำเดิมแต่จักรรัตนะบังเกิด ชื่อว่า เทวสถานอื่น ย่อมไม่มี. คน
ทั้งปวงกระทำการบูชาและอภิวาทเป็นต้น ซึ่งรัตนะนั้นอย่างเดียว ด้วยของ
หอมและดอกไม้เป็นตัน ดังนั้น จึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำความ
เคารพ ล้วนจักรรัตนะมีค่าหามิได้ เพราะทรัพย์ยังมีค่าประมาณเท่านี้ ดังนั้น
จึงชื่อว่า รัตนะ แม้เพราะอรรถว่า มีค่ามาก จักรรัตนะ ไม่เหมือนกับ
รัตนะที่มีอยู่ในโลกอย่างอื่น ดังนั้นจึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้.
ก็เพราะในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ พระเจ้าจักรพรรดิและพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมเกิดในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า
รัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยาก รัตนะนี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์อัน
โอฬาร ไม่ต่ำ โดยชาติ รูป ตระกูล และความเป็นใหญ่เป็นต้น หาเกิดขึ้น
แก่สัตว์อื่นไม่ ดังนั้น จึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องใช้สอย
ของสัตว์ที่ไม่ทราม. รัตนะแม้ที่เหลือก็เหมือนจักรรัตนะฉะนั้น ด้วยประการ
ฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความ
เคารพ มีค่ามาก ซึ่งไม่ได้ เห็นได้ยาก
เป็นของใช้ของสัตว์ผู้ไม่ทราม
ดังนี้.
บทว่า ปาตุภาโว โหติ ได้แก่ ความบังเกิด. ในข้อนี้มีวาจา
ประกอบความดังนี้ ข้อว่า พระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ 7 จึงปรากฏ ดังนี้
ก็ควร ข้อว่า ชื่อว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมยังจักรอันเกิดแล้วให้หมุนไป
ดังนี้ก็ควร. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมุ่งถึงความนิยมของ
พระเจ้าจักรพรรดิ. ก็ผู้ใดจักยังจักรให้หมุนไปตามความนิยม ผู้นั้นตั้งแต่
ปฏิสนธิย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวว่า พระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ ดังนี้.
คำนั้น ก็ควรเหมือนกัน เพราะพูดถึงความเกิดแห่งมูลของบุรุษที่ได้ชื่อแล้ว
ก็ผู้ใดเป็นสัตว์วิเศษ ได้ชื่อว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ความปรากฏกล่าวคือ
ปฏิสนธิของผู้นั้นมีอยู่ ดังนี้ เป็นอธิบายในข้อนี้. ก็เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ
ปรากฏ รัตนะทั้งหลาย ย่อมปรากฏ. พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมประกอบ
อยู่ในบุญสมภารแก่เต็มที่พร้อมกับรัตนะเหล่านั้น ที่ปรากฏ.
ในกาลนั้น ชาวโลกเกิดความคิด ปรากฏในรัตนะเหล่านั้น ข้อนั้น
ก็ควร เพราะพูดถึงกันมาก ก็เมื่อใด สัญญามีความปรากฏในรัตนะเหล่านั้น

เกิดขึ้นแก่ชาวโลก เมื่อนั้น ก็เป็นอย่างเดียวเท่านั้นก่อน ภายหลังปรากฏ
รัตนะนอกนี้ 6 อย่าง เพราะฉะนั้น จึงถึงรัตนะนั้นอย่างนี้ เพราะพูดถึงกัน
มาก แม้โดยความต่างเนื้อความแห่งความปรากฏ ข้อนั้นก็ควรแล้ว ความ
ปรากฏมิใช่ปรากฏเพียงอย่างเดียว ชื่อว่า ปาตุภาวะ เพราะยังความปรากฏ
ให้เกิดขึ้น นี้เป็นประเภทแห่งความของความปรากฏ เพราะการสั่งสมบุญ
อันใด ยังพระเจ้าจักรพรรดิให้ปรากฏด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า ปาตุภาวะ
นี้เป็นประเภทแห่งความของความปรากฏ เพราะการสั่งสมบุญใด ยังพระเจ้า
จักรพรรดิให้ปรากฏด้วยอำนาจปฏิสนธิ ฉะนั้น ความปรากฏแห่งพระเจ้า
จักรพรรดิ ไม่เป็นจักรพรรดิอย่างเดียว แต่แม้รัตนะ 7 เหล่านี้ ก็ปรากฏ
ด้วย เพราะฉะนั้น นี้เป็นอธิบายในข้อนี้. เหมือนอย่างว่า การสั่งสมบุญนั้น
เป็นเหตุให้เกิดพระราชา ฉันใด การสั่งสมบุญเป็นเหตุอุปนิสัย แม้แห่งรัตนะ
โดยปริยาย ฉันนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ จึงเป็นความปรากฏ
แห่งรัตนะ 7 ด้วยดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กตเมสํ สตฺตนฺนํ
จกฺกรตนสฺส
ดังนี้ เพื่อทรงแสดงรัตนะเหล่านั้น โดยอำนาจสรุป. ในบท
เหล่านั้น ในบทเป็นต้นว่า จกฺกรตนสฺส มีอธิบายโดยย่อดังนี้ จักรแก้ว
สามารถเพื่อยึดสิริสมบัติของทวีปใหญ่ 4 มีทวีปสองพันเป็นบริวารมาให้ปรากฏ
อยู่. ช้างแก้ว ไปสู่เวหาส อันสามารถติดตามไปสู่แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด
มาให้ได้ก่อนภัตรอย่างนั้น ม้าแก้วก็เช่นนั้นเหมือนกัน. แก้วมณี อันสามารถ
กำจัดความมือประมาณโยชน์ในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์สี่ มองเห็น
แสงสว่างได้. นางแก้ว มีปกติเว้นโทษ 6 อย่างแล้ว เที่ยวไปได้ตามชอบใจ.
คฤหบดีแก้ว อันสามารถเห็นขุมทรัพย์อยู่ภายในแผ่นดินในประเทศประมาณ

โยชน์ ปริณายกแก้ว กล่าวคือบุตรคนหัวปี ผู้เกิดในท้องของอัครมเหสีแล้ว
เป็นผู้สามารถปกครองสมบัติทั้งสิ้นมิได้ปรากฏอยู่ ดังนั้น นี้เป็นอธิบายย่อใน
ข้อนี้.
ส่วนวิธีปรากฏแห่งจักรแก้วเป็นต้นเหล่านั้น มาแล้วในสูตรมีมหา-
สุทัสสนะเป็นต้น โดยพิสดารแล แม้อธิบายวิธีปรากฏของจักรแก้วนั้น ท่าน
พรรณนาไว้ในอรรถกถาแห่งสูตรเหล่านั้นแล.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺณงฺครตนสฺส เป็นต้น พึงทราบแม้ความ
ที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างนี้. จักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เที่ยวไปก่อนกว่า
รัตนะทั้งปวง ฉันใด สติสัมโพชณังครัตนะ เที่ยวไปก่อนกว่าธรรมที่เป็นไปใน
ภูมิ 4 ทั้งปวง ฉันนั้น คือเปรียบด้วยจักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะ
อรรถว่าเที่ยวไปก่อน. บรรดารัตนะทั้งหลาย ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ
เกิดรางใหญ่ สูง ไพบูลย์ใหญ่ ธัมมวิจยสัมโพชฌังครัตนะ เข้าถึงหมู่ธรรม
เป็นอันมาก สูงแผ่ไป กว้างใหญ่ ดังนั้น จึงเปรียบด้วยช้างแก้ว. ม้าแก้วของ
พระเจ้าจักรพรรดิมีฝีเท้าเร็ว วิริยสัมโพชฌังครัตนะ แม้นี้มีกําลังฉับพลัน
ดังนั้น จึงเปรียบด้วยม้าแก้ว เหตุมีกําลังฉับพลันนี้. แก้วมณีของพระเจ้า
จักรพรรดิ กําจัดความมืดให้สว่างได้ ปีติสัมโพชณังครัตนะ แม้นี้อยู่ใน
หมู่ธรรมเป็นอันมาก กําจัดความมืดคือกิเลสให้สว่างด้วยญาณ ด้วยอำนาจ
สหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเป็นกุศลโดยส่วนเดียว ดังนั้น จึงเปรียบด้วย
แก้วมณี เหตุกําจัดความมืดให้สว่างนี้.
นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ระงับความกระวนกระวายทางกาย
และทางจิต ให้ความร้อนสงบ ปัสสัทธิสัมโพชฌังครัตนะ แม้นี้ ระงับความ
กระวนกระวายทางกายและทางจิต ให้ความร้อนสงบ ดังนั้น จึงเปรียบด้วย
นางแก้ว. คฤหบดีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ กําหนดความฟุ้งซ่าน ทำให้จิต

มีอารมณ์เดียวด้วยการให้ทรัพย์ ในขณะที่ตนปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้ว
สมาธิสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ ยังอัปปนาให้ถึงพร้อมด้วยอำนาจความที่ตน
ปรารถนาเป็นต้น ตัดขาดแล้ว ซึ่งความฟุ้งซ่าน ทำจิตให้มีอารมณ์เดียว
ดังนั้น จึงเปรียบด้วยคฤหบดีแก้ว. ส่วนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ
ทำความขวนขวายน้อยให้ ด้วยการทำกิจในที่ทั้งปวงให้สำเร็จ อุเบกขาสัม-
โพชฌังครัตนะแม้นี้ เปลื้องจิตตุปบาทจากความหดหู่และความฟุ้งซ่าน ทำ
ความขวนขวายน้อย วางตนไว้ในท่ามกลางประกอบความเพียร ดังนั้น จึง
เปรียบด้วยปริณายกแก้ว. พึงทราบว่า การกําหนดธรรมที่รวมไว้ทั้งหมดเป็น
4 ภูมิ ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ 2

3. มารสูตร *



โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร


[507] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร
และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น. ก็มรรคาเป็น
เครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ 7. โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน
คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
มรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.
จบมารสูตรที่ 3
* สูตรที่ 3 ไม่มีอรรถกถาแก้.