เมนู

นีวรณวรรควรรณนาที่ 4



อรรถกถาอุปกิเลสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน อุปกิเลสสูตรที่ 3 แห่งนีวรณวรรคที่ 4
บทว่า น จ ปภสฺสรํ ได้แก่ ไม่มีรัศมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่
มีการแตกทำลายเป็นสภาพ. บทว่า อโย ได้แก่ โลหะมีสีดำ. อธิบายว่า
เว้นของ 4 อย่าง ที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ ที่เหลือชื่อว่า โลหะ บทว่า สชฺฌุํ
ได้แก่ เงิน. บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิสี่. ถามว่า
อุปกิเลสย่อมมีแก่จิตในภูมิสาม จงยกไว้ก่อน อุปกิเลสของโลกุตรจิตมีได้
อย่างไร ตอบว่า ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่ให้อารมณ์อันเลิศเกิดขึ้น ธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นอุปกิเลสของโลกิยจิตบ้าง ของโลกุตรจิตบ้าง
ย่อมมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ความว่า มีความแตกเป็นสภาพ โดยเข้าถึงความ
เป็นจุณวิจุณไปในอารมณ์.
บทว่า อนาวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนาวรณา เพราะอรรถว่าไม่กั้น
กุศลธรรม. บทว่า อนีวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนีวรณา เพราะอรรถว่าไม่
ปกปิด บทว่า เจตโส อนุปกฺกิเลสา ได้แก่ ไม่เป็นอุปกิเลสของจิตใน
ภูมิสี่.
จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ 3

4. อโยนิโสสูตร*



มนสิการไม่แยบคาย นิวรณ์ 5 จึงเกิด


[482] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย
กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[483] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[484] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
[485] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิงขึ้น.
[486] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.
จบอโยนิโสสูตรที่ 4
* สูตรที่ 4 5 6 ไม่มีอรรถกถาแก้.