เมนู

ทำลายเสียได้ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน
เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกอง
โลภะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลาย
กองโทสะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อม
ทำลายกองโมหะ ที่ยังไม้เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ดูก่อนอุทายี
โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความแทงตลอด.
จบนิพเพธสูตรที่ 8

อรรถกถานิพเพธสูตร



พึงทราบวินิจฉัยใน นิพเพธสูตรที่ 8.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยํ ได้แก่ ส่วนแห่งการแทงตลอด. บทว่า
สติสมฺโพชฺฌงฺคภาวิเตน ความว่า มีจิตอันสติสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว.
ในข้อนี้มีมรรคและโพชฌงค์คลุกเคล้ากันอย่างนี้ จิตที่มั่นคง อันมรรคและ
โพชฌงค์เหล่านั้นอบรมแล้ว เกิดโลกุตระ ก็แล การทำโพชฌงค์นั้น ให้อาศัย
มรรคแล้ว กล่าวให้คลุกเคล้ากันนั่นแล จึงจะควร.
จบอรรถกถานิพเพธสูตรที่ 8

9. เอกกรรมสูตร



โพชฌงค์ 7 ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์


[455] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรายังไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ข้อหนึ่ง
ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ 7 นี้เลย. โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน คือ สติ-
สัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[456] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
[257] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน.
จักษุเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์
เหล่านั้นย่อมเกิดที่จักษุนี้ โสต. . . ฆานะ . . ชิวหา . . . *ใจเป็นธรรมที่ตั้งแห่ง
สังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
จบเอกธรรมสูตรที่ 9
* บาลีเป็นอยางนี้ กายหายไป