เมนู

กำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวก
อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่
ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.
[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนด
รู้ทุกข์เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบกิมัตถิยสูตรที่ 5

อรรถกถากิมัตถิยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกิมัตถิยสูตรที่ 5.
เอว ศัพท์ในบทว่า อยเมว มีอรรถแน่นอน. ย่อมห้ามมรรคอื่น
ด้วย เอว ศัพท์นั้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสทุกข์ในวัฏฏะ
และมรรคเจือปนกัน.
จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรที่ 5

6. ปฐมภิกขุสูตร

1

มรรค 8 เรียกว่าพรหมจรรย์


[29] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่งพรหมจรรย์
เป็นไฉน.
[30] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ 8 คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้น
ราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้ เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.
จบปฐมภิกขุสูตรที่ 6

7. ทุติยภิกขุสูตร



ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ


[31] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า
1. สูตรที่ 6 ไม่มีอรรถกถาแก้