เมนู

ดับไปก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวคำนี้ว่า สา เจว อวิชชา สา เจว
ตณฺหา
ไว้แม้ในที่นี้ เพราะอรรถว่า เห็นสมกัน เหมือนเภสัชที่ดื่ม
วันวาน แม้วันนี้บริโภคโภชนะเข้าไป เภสัชนั้นก็ยังเรียกว่า เภสัชนั่นเอง
ฉันนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยํ ได้แก่มรรคพรหมจรรย์. บทว่า
ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏทุกข์. บทว่า กายูปโค
โหติ
ได้แก่เป็นผู้เข้าถึงปฏิสนธิกายอื่น. ด้วยบทว่า ยทิทํ พฺรหฺมจริย-
วาโส
นี้ ท่านแสดงว่า มรรคพรหมจริยวาสนี้ใด. นี้คือความแปลกกัน
ของบัณฑิตจากคนพาล. ดังนั้นในพระสูตรนี้ ท่านจึงเรียกว่าปุถุชนผู้ยัง
มีปฏิสนธิทั้งหมดว่า เป็นคนพาล พระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิ เรียกว่า
เป็นบัณฑิต. ส่วนพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี ใครๆ
ไม่ควรเ รียกว่า บัณฑิต หรือคนพาล. แต่เมื่อคบ ก็คบแต่ฝ่ายบัณฑิต.
จบอรรถกถาพาลบัณฑิตสูตรที่ 9

10. ปัจจยสูตร



ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น



[60] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เรา
จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[61] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชาติเป็นปัจจัย จึง
มีชราและมรณะ พระตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติ
ขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น คือ ธัมมฐิติ1 ธัมมนิยาม2 อิทัปปัจจัย3 ก็ยัง
ดำรงอยู่ พระตถาคตย่อมตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงซึ่งธาตุอันนั้น ครั้นแล้ว
ย่อมตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ
ให้ตื้น และตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึง
มีชราและมรณะ. . . เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ. . . เพราะอุปาทาน
เป็นปัจจัย จึงมีภพ. . . เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน. . . เพราะ
เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา. . . เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา. . .
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ. . . เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี
สฬายตนะ. . . เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป. . . เพราะสังขาร
เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ. . . เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร พระ
ตถาคตทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุอันนั้น
คือ ธัมมฐิติ ธัมมนิยาม อิทัปปัจจัย ก็ยังดำรงอยู่ พระตถาคตย่อม
ตรัสรู้ ย่อมตรัสรู้ทั่วถึงธาตุอันนั้น ครั้นแล้วย่อมตรัสบอก ทรงแสดง
บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น และตรัสว่า ท่าน
ทั้งหลายจงดู ดังนี้ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ภิกษุทั้งหลาย
ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอัน
แน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนั้นแล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท.
[62] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุม

1. ความตั้งอยู่ธรรมดา 2. ความแน่นอนของธรรมดา 3. มูลเหตุอันแน่นอน. (ซิลเดอรส์)

แต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
ชาติ. . . ภพ. . . อุปาทาน. . . ตัณหา. . . เวทนา. . . ผัสสะ. . . สฬายตนะ. . .
นามรูป. . . วิญญาณ. . . สังขาร. . . อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัย
ประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป
เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เราเรียกว่า ธรรมอาศัยกันเกิด
ขึ้น.
[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่ง
ปฏิจจสมุปบาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า
ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ใน
อดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ แล้ว
ได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่าในอนาคตกาล
เราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ อนาคตกาลเรา
จักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร
หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า
เราเป็นอยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็น
อย่างไรอยู่หนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่
ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจ-
สมุปบาท และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตาม
เป็นจริง.

จบปัจจยสูตรที่ 10
จบอาหารวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. อาหารสูตร 2. ผัคคุนสูตร 3. ปฐมสมณพราหมณสูตร
4. ทุติยสมณพรามณสูตร 5. กัจจานโคตตสูตร 6. ธรรมกถิกสูตร
7. อเจลกัสสปสูตร 8. ติมพรุกขสูตร 9. พาลบัณฑิตสูตร 10. ปัจจย-
สูตร.

อรรถกถาปัจจยสูตรที่ 10



ในปัจจยสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทญฺจ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ปฏิจฺจ-
สมุปฺปนฺเน จ ธมฺเม
ความว่า พระศาสดาทรงเริ่มคำทั้งสองใน
พระสูตรนี้ว่า เราจักแสดงปัจจัยและสภาวธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น.
บทว่า อุปฺปาทา วา ตถาคตานํ ความว่า แม้ในขณะอุบัติขึ้นแห่ง
พระตถาคตคือเมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นก็ดี ชื่อว่า มีชราและมรณะ เพราะ
มีชาติเป็นปัจจัย ได้แก่ ชาตินั่นแลเป็นปัจจัยแก่ชราและมรณะ. บทว่า
ฐิตาว สา ธาตุ ได้แก่ สภาวะแห่งปัจจัยนั้นตั้งอยู่แล้ว คือในกาล
บางคราว ชาติจะไม่เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ ก็หามิได้. พระองค์ตรัส
ปัจจัยนั้นแล ด้วยบททั้งสองแม้เหล่านี้ คือ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
เพราะธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่เพราะปัจจัย เพราะเหตุนั้น
ปัจจัยนั้นเอง ท่านเรียกว่า ธมฺมฏฺฐิตตา. ปัจจัยย่อมกำหนดธรรม
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธมฺมนิยามตา. บทว่า อิทปฺปจฺจยตา ได้แก่
ปัจจัยแห่งชราและมรณะเป็นต้นเหล่านี้ ชื่อว่า อิทัปปัจจัย. อิทัปปัจจัย