เมนู

ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปฺปตฺโต คือบรรลุพระนิพพานในปัจจุบันชาติ. บทว่า
อลํ วจนาย ความว่า ย่อมเหมาะที่จะพูดอย่างนั้น คือควร ได้แก่
สมควร. ในข้อนี้ เพราะธรรมกถึก กล่าวปุจฉาไว้ด้วยนัยอันหนึ่ง ชี้แจง
เสขภูมิและอเสขภูมิ ให้ปุจฉาแปลกออกไป ด้วยนัยทั้งสอง ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
จบอรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ 6

7. อเจลกัสสปสูตร



ว่าด้วยความทุกข์เกิดแต่ปัจจัย



[ 47] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทก-
นิวาปสถาน กรุงราชคฤห์
ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
อเจลกัสสป
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ สถานที่นั้น ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
[48] ครั้นแล้ว อเจลกัสสปได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าพเจ้าจะขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระโคดมจะทรง
กระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังไปสู่ละแวกบ้าน
แม้ครั้งที่ 2. . . แม้ครั้งที่ 3 อเจลกัสสปก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าขอถามเหตุบางอย่างกะท่านพระโคดม ถ้าท่านพระ-
โคดม
จะทรงกระทำโอกาส เพื่อทรงตอบปัญหาแก่ข้าพเจ้า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ยังมิใช่เวลาตอบปัญหา เรากำลังเข้า
ไปสู่ละแวกบ้าน.
[49] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว อเจลกัสสปได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ก็ข้าพเจ้าไม่ประสงค์จะถามท่านพระ-
โคดม
มากนัก.
ภ. ดูก่อนกัสสป ท่านจงถามปัญหาตามที่ท่านจำนงไว้เถิด.
ก. ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระทำเองหรือ.
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.
ก. ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.
ก. ความทุกข์ตนกระทำเองด้วย ผู้อื่นกระทำให้ด้วยหรือ ท่าน
พระโคดม.
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.
ก. ความทุกข์บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่
ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม.
ภ. อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป.
ก. ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่านพระโคดม.
ภ. ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป.
ก. ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดม ย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หรือ.
ภ. เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความทุกข์อยู่

กัสสป.
ก. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความทุกข์ตนกระ-
ทำเองหรือ ท่านตรัสว่า อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า
ความทุกข์ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า อย่ากล่าว
อย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการ
ที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้หรือ ท่านพระโคดม ท่านตรัสว่า
อย่ากล่าวอย่างนั้น กัสสป เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ความทุกข์ไม่มีหรือ ท่าน
พระโคดม ท่านตรัสว่า ความทุกข์ไม่มีหามิได้ ความทุกข์มีอยู่ กัสสป
เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านพระโคดมย่อมไม่รู้ไม่เห็นความ
ทุกข์หรือ ท่านตรัสว่า เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นความทุกข์หามิได้ เรารู้เห็นความ
ทุกข์อยู่ กัสสป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัส
บอกความทุกข์แก่ข้าพเจ้า และขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความทุกข์
แก่ข้าพเจ้าด้วย.
[50] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เมื่อบุคคลถือ
อยู่ว่า นั่นผู้กระทำ นั่นผู้เสวย [ทุกข์] เราจะกล่าวว่า ทุกข์ตนกระทำ
เอง ดังนี้ อันนี้เป็นสัสสตทิฏฐิไป เมื่อบุคคลถูกเวทนาทิ่มแทง [ รู้ ]
อยู่ว่า ผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้เสวยเป็นอีกคนหนึ่ง เราจะกล่าวว่า ทุกข์ผู้อื่น
กระทำให้ ดังนี้ อันนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิไป ดูก่อนกัสสป ตถาคตแสดงธรรม
โดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้งสองนั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ . . . ความเกิดขึ้นแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับ
ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ...

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[ 51 ] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-
องค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม
ประทีปในที่มืดด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์ขอ
ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป ผู้ใดเคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่
ปริวาส 4 เดือน เมื่อล่วง 4 เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว หวังอยู่
จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่าง
แห่งบุคคล.
อเจลกัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็น
อัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่
ปริวาส 4 เดือน เมื่อล่วง 4 เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วหวังอยู่
จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่
ปริวาส 4 ปี เมื่อล่วง 4 ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา
ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.
[52] อเจลกัสสปได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
แล้ว ครั้นท่านกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่

ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ทำให้
แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านกัสสปได้
เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบอเจลกัสสปสูตรที่ 7

อรรถกถาอเจลกัสสปสูตรที่ 7



ในอเจลกัสสปสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อเจโล กสฺสโป ได้เเก่นักบวชอเจละ คือไม่มีผ้า
โดยเพศ ชื่อกัสสปะโดยชื่อ. บทว่า ทูรโตว ความว่า ได้เห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้า
มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ห้อมล้อมเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว. บทว่า
กิญฺจิเทว เทสํ ได้แก่เหตุการณ์บางอย่าง. บทว่า โอกาสํ ได้แก่ขณะ
คือกาลแห่งการพยากรณ์ปัญหา. บทว่า อนฺตรฆรํ ได้แก่ภายในบ้าน
ชื่อว่า ละแวกบ้าน. ในคำว่า น ปลฺลตฺถิกาย อนฺตรฆเร นิสี-
ทิสฺสามิ
(จักไม่นั่งคู้เข่าในละแวกบ้าน). ชื่อว่า ภายในบ้านตั้งแต่เสา
เขตเป็นต้นไป ในคำว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ อนฺตรฆเร คมิสฺสามิ (เรา
จักทอดจักษุไปในละแวกบ้าน). ภายในบ้านนี้แล ท่านประสงค์เอาใน
ที่นี้. บทว่า ยทากงฺขสิ ได้แก่มุ่งหวังสิ่งใด.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะตรัสจึง
ทรงห้ามเสียถึงครั้งที่ 3. ตอบว่า เพื่อให้เกิดความเคารพ. เพราะผู้ถือ