เมนู

ลำดับนั้น พวกคนกล่าวกะท่านว่า ท่านจักไม่ขอขมาโทษตาม
ความชอบใจของตนหรือ ดังนี้แล้วช่วยกันจักมือและเท้าแล้วให้นอนหมอบ
แทบเท้า แล้วกล่าวว่า ขอจงขมาโทษเถิด. ดาบสนั้นนอนเงียบเสียง.
คนเหล่านั้นจึงกล่าวย้ำกะดาบสนั้นว่า จงขอขมาโทษเสีย. ลำดับนั้น ดาบส
จึงกล่าวว่า โปรดยกโทษข้าเถิดอาจารย์. มหาบุรุษกล่าวว่า อันดับแรก
ข้าพเจ้าจักยกโทษให้ท่านแล้วปล่อยพระอาทิตย์ แต่เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น
ศีรษะของท่านจักแตก 7 เสียง ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ท่านจงเอาก้อนดิน
เหนียว ขนาดเท่าศีรษะวางไว้บนกระหม่อมของดาบสนี้ แล้วให้ท่านยืน
แช่น้ำในแม่น้ำแค่คอ. พวกผู้คนได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้ ไพร่พลของพระราชาทั่วแว่นแคว้นประชุมกัน. มหาบุรุษได้ปล่อย
พระอาทิตย์แล้ว. แสงพระอาทิตย์มากระทบก้อนดิน. ก้อนดินนั้นก็แตก
7 เสี่ยง. ในขณะนั้นนั่นเอง ดาบสนั้นก็ดำลงโผล่ขึ้นทางท่าหนึ่งแล้วก็
หนีไป. พระศาสดาทรงนำเรื่องนี้มาตรัสว่า บัดนี้ท่านได้บริภาษในสำนัก
ของภิกษุทั้งหลายก่อน. แม้ในกาลก่อนท่านอาศัยความโกรธนี้ จึงถูก
เนรเทศออกจากแว่นแคว้น ครั้นทรงสืบอนุสนธิ เมื่อจะโอวาทดาบสนั้น
จึงตรัสว่า ติสสะ ข้อนั้นไม่สมควรแก่เธอแล เป็นต้น.
จบอรรถกถาติสสสูตรที่ 9

10. เถรนามสูตร



ว่าด้วยเรื่องภิกษุรูปหนึ่งชื่อเถระ



[716] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อว่าเถระ
มีปกติอยู่ผู้เดียว และสรรเสริญการอยู่ผู้เดียว เธอเป็นผู้เดียว เข้าไปสู่
บ้านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้เดียวเดินกลับ ย่อมนั่งในที่ลับผู้เดียว และย่อม
เป็นผู้เดียวอธิฐานจงกรม ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้-
มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้
มีชื่อว่าเถระ มีปกติอยู่คนเดียว และมีปกติกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว.
[717] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปบอกภิกษุชื่อเถระตามคำของเราว่า พระ
ศาสดารับสั่งให้หา ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่าน
พระเถระถึงที่อยู่ครั้นแล้วกล่าวว่า อาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่าน
พระเถระรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วถวายอวิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[718] ครั้นท่านพระเถระนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนเถระ. ได้ยินว่า เธอมีปกติอยู่คนเดียวและมัก
สรรเสริญการอยู่คนเดียว จริงหรือ.
พระเถระกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนเถระ ก็เธอมีปกติอยู่คนเดียว และมักกล่าวสรรเสริญ
การอยู่คนเดียวอย่างไร.
ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ คือข้าพระองค์คนเดียวเข้าไป
สู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เดินกลับคนเดียว นั่งในที่ลับตาคนเดียว อธิษฐาน

จงกรมคนเดียว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีปกติอยู่คนเดียว และ
มักกล่าวสรรเสริญการอยู่คนเดียว อย่างนี้แล.
[719] พ. ดูก่อนเถระ การอยู่คนเดียวนี้มีอยู่ เราจะกล่าวว่า
ไม่มีก็หาไม่ เถระ อนึ่ง การอยู่คนเดียวของเธอย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย
พิสดารกว่าโดยประการใด เธอจงฟังโดยประการนั้น จงทำไว้ในใจให้ดี
เราจักกล่าว ท่านพระเถระทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[720] ดูก่อนเถระ ก็การอยู่คนเดียว ย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดย
พิสดารกว่าอย่างไร ในข้อนี้ สิ่งใดที่ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละได้แล้ว
สิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็สละคือได้แล้ว ฉันทราคะในการได้อัตภาพที่เป็น
ปัจจุบันถูกกำจัดแล้วด้วยดี การอยู่คนเดียวย่อมเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดาร
กว่าอย่างนี้แล.
[721] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
เราย่อมเรียกนรชนผู้ครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ
และไตรภพทั้งหมดได้ ผู้รู้ทุกข์ทุกอย่าง ผู้มีปัญญาดี
ผู้ไม่แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง ผู้ละสิ่งทั้งปวงเสียได้
ผู้หลุดพ้น ในเพราะนิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา ว่าเป็น
ผู้มีปกติอยู่คนเดียว ดังนี้.

จบเถรนามสูตรที่ 10

อรรถกถาเถรนามสูตรที่ 10



ในเถรนามสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ว่า วณฺณวาที แปลว่า มีปกติกล่าวอานิสงส์. บทว่า ยํ อตีตํ
ปหีนํ
ความว่า เป็นอันชื่อว่าละความโกรธนั้น ด้วยการละฉันทราคะใน
เบญจขันธ์อันเป็นอดีต. บทว่า อนาคตํ ความว่า เบญจขันธ์อันเป็น
อนาคตเป็นอันชื่อว่าสลัดเสียได้ ด้วยการสละฉันทราคะในเบญจขันธ์นั้น.
บทว่า สพฺพาภิภุํ ความว่า ตั้งครอบงำขันธ์ อายตนะ ธาตุ และภพ 3
ทั้งหมด. บทว่า สพฺพวิทุํ ได้แก่ รู้แจ้งเบญจขันธ์เป็นต้นซึ่งมีประการ
ดังกล่าวแล้วทั้งหมดนั้น. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ความว่า อันเครื่อง
ฉาบคือตัณหาและทิฏฐิไม่เข้าไปฉาบแล้วในธรรมทั้งปวงนั้นแล. บทว่า
สพฺพํ ชหํ ความว่า ละเบญจขันธ์นั้นแลทั้งหมด ด้วยการละฉันทราคะ
ในเบญจขันธ์นั้น. บทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺตํ ได้แก่น้อมไปในพระ-
นิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คือในวิมุตติซึ่งมีพระ-
นิพพานนั้นเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาเถรนามสูตรที่ 10

11. กัปปินสูตร



ว่าด้วยเรื่องท่านพระมหากัปปินะ



[722] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้นี้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม