เมนู

8. นันทสูตร



ว่าด้วยเรื่องนันทะ



[709] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
นัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้นนั้นแล ท่านพระนันทะ
ผู้เป็นบุตรของพระเจ้าแม่น้ำแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ห่มจีวรที่ทุบแล้ว
ทุบอีก หยอดนัยน์ตา ถือบาตรมีสีใส เข้าไปเฝ้าพระผู้พระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทแล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[710] ครั้นท่านพระนันทะนั่งเรียบร้อยแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนันทะ ข้อที่เธอห่มจีวรที่ทุบแล้วทุบอีก หยอด
นัยน์ตา และถือบาตรมีสีใส ไม่สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธา ข้อที่เธอถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่พึงเป็นผู้อาลัยในกามทั้งหลายอยู่อย่างนี้ จึง
สมควรแก่เธอผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา.
[711] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-
ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
เมื่อไร เราจะพึงได้เห็นนันทะ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือ
ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโภชนะ
ที่เจือปนกัน ไม่อาลัยในกามทั้งหลาย
ดังนี้.
[712] ลำดับนั้น ท่านพระนันทะ. โดยสมัยต่อมา ได้เป็นผู้
อยู่ป่าเป็นวัตร ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และไม่

อาลัยในกามทั้งหลายอยู่.
จบนันทสูตรที่ 8

อรรถกถานันทสูตรที่ 8



ในนันทสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาโกฏิตปจฺจาโกฏิตานิ ความว่า ที่ใช้ฝ่ามือหรือค้อนทุบ
ที่ข้าง ๆ หนึ่ง. บทว่า อญฺชิตฺวา ได้แก่ เต็มด้วยยาตา. บทว่า อจฺฉํ
ปตฺตํ
ได้แก่ บาตรดินที่มีสีใส.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระจึงทำอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะรู้
อัธยาศัยของพระศาสดา. ได้ยินว่า พระเถระนั้นได้ความคิดอย่างนี้ว่า
ถ้าพระศาสดาจักตรัสว่า น้องชายของเรานี้ งามจริงหนอ เราจักประ-
พฤติตามอาการนี้แล ถ้าจะเห็นโทษในข้อนี้ เราจะละอาการนี้ ถือเอาผ้า
จากกองหยากเยื่อ กระทำจีวรครอง จักอยู่ประพฤติในเสนาสนะสุดท้าย.
บทว่า อสฺสสิ แปลว่า จักเป็น. บทว่า อญฺญาภุญฺเชน ความว่า
ก็อาหารการกินของพวกภิกษุผู้แสวงหาโภชนะที่มีกลิ่นหอม ปรุงด้วยเครื่อง
เผ็ดร้อน ในเรือนของอิสระชน ที่เขากำหนดไว้ ชื่อว่า อัญญาภุญชะ.
แต่โภชนะคละกัน ที่ภิกษุผู้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนตามลำดับเรือน ชื่อว่า
อัญญาภุญชะ อัญญาภุชะนี้ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า กาเมสุ
อนเปกฺขินํ
ได้แก่ปราศจากความเยื่อใย ในวัตถุกามและกิเลสกาม.
บทว่า อารญฺญิโก จ ท่านกล่าวโดยการสมาทานทุกอย่างทีเดียว. คำว่า
กาเมสุ จ อนเปกฺโข ความว่า พระสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงนาง
อัปสรเป็นต้น ในเทวโลก เสด็จมาตรัสไว้ในภายหลัง. ตั้งแต่วันที่ตรัส