เมนู

อรรถกถานวสูตรที่ 4



ในนวสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ ไม่มีความขวนขวาย. บทว่า สงฺกตายติ1
ได้แก่ อยู่. บทว่า เวยฺยาวจฺจํ ได้แก่ กิจที่จะพึงทำในจีวร. บทว่า
อภิเจตสิกานํ ได้แก่ อาศัยอภิจิต คือจิตสูงสุด. บทว่า นิกามลาภี
ได้แก่ เป็นผู้ได้ตามปรารถนา เพราะเป็นผู้สามารถเข้าสมาบัติในขณะที่
ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี ได้แก่ เป็นผู้ได้ไม่ยาก เพราะเป็น
ผู้สามารถข่มอันตรายของฌานเข้าสมาบัติได้โดยง่าย. บทว่า อกสิรลาภี
ได้แก่ เป็นผู้ได้อย่างไพบูลย์ . เพราะเป็นผู้สามารถออกได้ตามกำหนด
อธิบายว่า มีฌานคล่องแคล่ว. บทว่า สิถิลมารพฺภ ได้แก่ ใช้
ความเพียรย่อหย่อน.
จบอรรถกถานวสูตรที่ 3

5. สุชาตสูตร



ว่าด้วยเรื่องพระสุชาต



[700] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระสุชาต
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ.
[701] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นพระสุชาตมา

1. ม. สงฺกสายติ.

แต่ไกลเทียว แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า กุลบุตรนี้ย่อมงามด้วยสมบัติ
2 อย่าง คือมีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงาม
ยิ่งนัก และกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร
ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย
ตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[702] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยา-
กรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
ภิกษุนี้ย่อมงามด้วยใจอันซื่อตรงหนอ เป็นผู้หลุดพ้น
เป็นผู้พราก เป็นผู้ดับ เพราะไม่ถือมั่น ชำนะมาร
พร้อมทั้งพาหนะได้แล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งอัตภาพมีใน
ที่สุด ดังนี้.

จบสุชาตสูตรที่ 5

อรรถกถาสุชาตสูตรที่ 5



ในสุชาตสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อภิรูโป ได้แก่ มีรูปงามล้ำรูปอื่น ๆ. บทว่า ทสฺสนีโย
ได้แก่ ควรทัศนา. บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ สามารถที่จะให้ใจแจ่มใสใน
การดู. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่ด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม.
จบอรรถกถาสุชาตสูตรที่ 5