เมนู

โข กจฺจาน สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสัมมาทิฏฐิ
ที่เจือปนกันว่า ความเห็นชอบเพียงเท่านี้มีอยู่ เพราะละสัตตสัญญาได้ด้วย
อาการอย่างนั้น. บทว่า อยเมโก อนฺโต ได้แก่ที่สุดยอด ที่สุดทราม
อันเดียวกันนี้ จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่า เที่ยง อันที่หนึ่ง. บทว่า
อยํ ทุติโย ได้แก่ที่สุดยอด ที่สุดทราม กล่าวคือทิฏฐิที่จะเกิดขึ้นว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มี นี้จัดเป็นอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่า ขาดสูญ อัน
ที่สอง. คำที่เหลือใช้ในข้อนี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 5

6. ธรรมกถิกสูตร



ว่าด้วยคุณธรรมของพระธรรมกถึก



[45] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูป
หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้
มีพระภาคเจ้า
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถีก ดังนี้ ด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าธรรมกถึก.
[46] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุแสดง
ธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ
ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ
ความคลายกำหนัด เพื่อความดับชราและมรณะ ควรจะกล่าวว่า ภิกษุ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความหน่าย

เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ
ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานในปัจจุบันถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความ
หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับชาติ. . .ภพ. . .อุปาทาน. . .
ตัณหา. . .เวทนา. . .ผัสสะ. . .สฬายตนะ. . . นามรูป. . .วิญญาณ. . . สังขาร
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ
อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุธรรมกถึก ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ
หน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับอวิชชา ควรจะกล่าวว่า
ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะ
ความหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่น
อวิชชา ควรจะกล่าวว่า ภิกษุบรรลุนิพพานใน ปัจจุบัน.
จบธรรมกถิกสูตรที่ 6

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ 6



ในธรรมกถิกสูตรที่ 6 พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย. บทว่า วิราคาย
ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.
ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีล
จนถึงอรหัตมรรค. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติ
ปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ. บทว่า อนุธมฺมภูตํ
ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร. บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่
เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต
ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไร ๆ ด้วยอุปาทาน 4. บทว่า