เมนู

อรรถกถาอุปติสสสูตรที่ 2



ในอุปติสสสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า อตฺถิ นุ โข ตํ กิญฺจิ โลกสฺมึ นี้ ท่านกล่าวหมาย
เอาสัตว์หรือสังขารที่ยิ่งใหญ่. คำว่า สตฺถุปิ โข เต นี้ ท่านพระ-
อานนท์ถามเพื่อจะทราบว่า ความโศกเป็นต้นไม่พึงเกิดขึ้นแก่พระเถระนี้
แม้เพราะความแปรปรวนแห่งพระศาสดาหรือหนอแล เพราะพระอานนท์
เถระมีความพอใจและความรักในพระศาสดาเหลือประมาณ. คำว่า
ทีฆรตฺตํ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่ล่วงไปตั้งแต่วันที่ทรงแสดงเวทนา-
ปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ที่ประตูถ้ำสุกรขาตา. ก็ในวันนั้น พระ-
เถระถอนกิเลสที่ไปตามวัฏฏะเหล่านี้ได้แล้วแล.
จบอรรถกถาอุปติสสสูตรที่ 2

3. ฆฏสูตร



ว่าด้วยเรื่องหม้อเกลือใหญ่



[691] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร
และท่านพระมหาโมลคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทก-
นิวาปสถาน ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้า
ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

จึงนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[692] ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน
พระมหาโมคคัลลานะว่า ท่านโมคคัลลานะ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก
ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ชะรอยวันนี้ ท่านมหาโมคคัลลานะจะอยู่
ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า อาวุโส วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหาร-
ธรรมอันหยาบ อนึ่ง ผมได้มีธรรมีกถา.
สา. ท่านนหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับใคร.
ม. ผมได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคเจ้า.
สา. เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ไกลนัก ท่านมหา
โมคคัลลานะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
เสด็จมาหาท่านมหาโมคคัลลานะด้วยฤทธิ์.
ม. ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฤทธิ์ แม้พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมีทิพยจักษุและทิพย-
โสตธาตุอันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง
มีทิพยจักษุและทิพยโสตธาตุอันหมดจดเท่าผม.
สา. ท่านมหาโมคคัลลานะได้มีธรรมีกถากับพระผู้มีพระภาคเจ้า
อย่างไร.
[693] ม. ผมได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นี้ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้ปรารภความเพียร ๆ ดังนี้ ก็บุคคลจะ

ชื่อว่าเป็นผู้ปรารภความเพียรด้วยเหตุประมาณเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
อาวุโส เมื่อผมกราบทูลอย่างนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะผม
ดังนี้ว่า โมคคัลลานะ. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียร
ด้วยตั้งสัตยาธิษฐานว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที
เลือดและเนื้อในร่างกายจงเหือดแห้งไปเถิด ผลอันใดที่จะพึงบรรลุได้ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
ยังไม่บรรลุผลนั้นแล้ว จะหยุดความเพียรเสียเป็นอันไม่ โมคคัลลานะ
ภิกษุย่อมเป็นผู้ปรารภความเพียรอย่างนี้แล อาวุโส ผมได้มีธรรมีกถากับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล.
[694] สา. อาวุโส เปรียบเหมือนก้อนหินเล็ก ๆ ที่บุคคลเอา
ไปวางเปรียบเทียบกับเขาหิมพานต์ฉันใด เราเมื่อเปรียบเทียบกับท่าน
มหาโมคคัลลานะก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านมหาโมคคัลลานะ
เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เมื่อจำนงอยู่ พึงตั้งอยู่ได้ตลอดกัปแล.
[695] ม. อาวุโส ก้อนเกลือเล็ก ๆ ที่บุคคลหยิบเอาไปวาง
เปรียบเทียบกับหม้อเกลือใหญ่ฉันใด เมื่อผมเปรียบเทียบท่านพระสารีบุตร
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แท้จริง ท่านพระสารีบุตรเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงชม ทรงสรรเสริญ ทรงยกย่องแล้วโดยปริยายมิใช่น้อย มีอาทิว่า
ภิกษุผู้ถึงซึ่งฝั่งคือพระนิพพาน เป็นผู้เยี่ยมด้วยปัญญา ด้วยศีลและอุปสมะ
คือพระสารีบุตร ดังนี้.
ท่านมหานาคทั้งสองนั้น เพลิดเพลินคำสนทนาที่เป็นสุภาษิตของ
กันและกัน ด้วยประการดังนี้แล.
จบฆฏสูตรที่ 3

อรรถกถาฆฏสูตรที่ 3



ในฆฏสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เอกวิหาเร ได้แก่ ในห้องหนึ่ง. ได้ยินว่า ครั้งนั้นภิกษุ
อาคันตุกะประชุมกันเป็นอันมาก. เพราะฉะนั้น เสนาสนะแถวชายบริเวณ
หรือชายวิหารไม่เพียงพอ พระเถระสองรูปต้องอยู่ห้องเดียวถัน พระเถระ
เหล่านั้น กลางวันนั่งแยกกัน แต่กลางคืนกั้นม่านไว้ในระหว่างพระเถระ
ทั้งสอง พระเถระเหล่านั้นนั่งในที่ที่ถึงแก่ตนเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เอกวิหาเร. คำว่า โอฬาริเกน ท่านกล่าวหมายเอาความมี
อารมณ์หยาบ. ด้วยว่า พระเถระนั่น อยู่ด้วยวิหารธรรมคือทิพยจักษุและ
ทิพยโสต. จริงอยู่ รูปายตนะและสัททายตนะที่พระเถระทั้งสองนั้นฟัง
แล้ว เป็นอารมณ์หยาบ. วิหารธรรมนั้นชื่อว่าหยาบ เพราะเห็นรูปด้วย
ทิพยจักษุ และฟังเสียงด้วยทิพยโสตธาตุ. บทว่า ทิพฺพจกฺขุํ วิสุชฺฌิ
ความว่า ทิพยจักษุได้บริสุทธิ์โดยที่ได้เห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า. บทว่า ทิพฺพา จ โสตธาตุ ความว่า ทิพยโสตธาตุแม้นั้นชื่อว่า
บริสุทธิ์โดยที่ได้ฟังพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทิพยจักษุและ
ทิพยโสตทั้งสองแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็บริสุทธิ์ โดยที่ได้ทอดพระ
เนตรเห็นรูปและทรงสดับเสียงของพระเถระ. ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระ-
เถระคิดว่า บัดนี้ พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหนหนอ จึงเจริญอาโลกกสิณ
เห็นพระศาสดาประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ในพระเชตวันวิหาร ด้วย
ทิพยจักษุ ได้ฟังพระสุรเสียงของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยทิพยโสตธาตุ.
แม้พระศาสดาก็ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พระศาสดาและพระ-