เมนู

ในคำว่า อยํ วุจฺจติ นี้ ประกอบความดังนี้ เพราะวิตกวิจารใน
ทุติยฌานดับ สฬายตนะย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น ทุติยฌานนี้นั้น ท่านจึง
เรียกว่า อริโย ตุณฺหีภาโว การนิ่งอย่างอริยะ แต่ในคำว่า ธรรมีกถา
หรือดุษณีภาพอันประเสริฐนี้ การมนสิการกัมมัฏฐานก็ดี ปฐมฌานเป็น
ต้นก็ดี นับว่าเป็นดุษณียภาพอันประเสริฐทั้งนั้น.
บทว่า วิตกฺกสหคตา ได้แก่มีวิตกเป็นอารมณ์. บทว่า สญฺญา
มนสิการา
ได้แก่สัญญาและมนสิการ. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ย่อม
เป็นไป. ได้ยินว่า ทุติยฌานของพระเถระยังไม่ช่ำชอง เมื่อเป็นเช่นนั้น
พอท่านออกจากทุติยฌานนั้นแล้ว วิตกวิจารไม่ตั้งขึ้นโดยที่สงบไป.
ทุติยฌานก็ดี สัญญาและมนสิการก็ดีของพระเถระนั้น ได้เป็นไปในส่วน
แห่งความเสื่อมทั้งนั้น. เมื่อจะทรงแสดงทุติยฌานนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า สณฺฐเปหิ ได้แก่ตั้งอยู่โดยชอบ. บทว่า เอโกทิภาวํ กโรหิ
ได้แก่กระทำให้มีอารมณ์เดียว. บทว่า สมาทห ได้แก่ยกขึ้นตั้งไว้โดย
ชอบ. บทว่า มหาภิญฺญตฺตํ ได้แก่อภิญญา 6.
ได้ยินว่า พระศาสดาทรงขยายสมาธิที่เป็นไปในส่วนแห่งความ
เสื่อมของพระเถระตลอด 7 วัน โดยอุบายนี้ ให้พระเถระบรรลุอภิญญา 6.
จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ 1

2. อุปติสสสูตร



ว่าด้วยโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส



[688] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้รับคำท่านพระ-
สารีบุตรแล้ว.

[689] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เราผู้เร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า โสกปริ-
เทวทุกขโทมนัสและอุปายาสพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรปรวน
เป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือสังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้น ยังมี
อยู่ในโลกหรือ เราได้มีความดำริว่า โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
ไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแห่งสัตว์หรือ
สังขารใด สัตว์หรือสังขารบางอย่างนั้น ไม่มีอยู่ในโลกเลย.
[690] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์
ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ โสกปริ-
เทวทุกขโทมนัสและอุปายาสไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะความแปร
ปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแลหรือ พระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสไม่พึงบังเกิดขึ้น
แก่เรา เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแล อนึ่ง
ผมดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสัตว์ผู้มีศักดาใหญ่ มีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมาก อันตรธานไปแล้ว ถ้าพระองค์พึงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ความจริง ท่านพระสารีบุตรถอนอหังการ
มมังการ และมานานุสัยได้นานแล้ว เพราะฉะนั้น โสกปริเทวทุกข-
โทมนัสและอุปายาสทั้งหลาย จึงไม่บังเกิดขึ้นแก่ท่านพระสารีบุตร เพราะ
ความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นแม้แห่งพระศาสดาแล ด้วยประการดังนี้.
จบอุปติสสสูตรที่ 2

อรรถกถาอุปติสสสูตรที่ 2



ในอุปติสสสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า อตฺถิ นุ โข ตํ กิญฺจิ โลกสฺมึ นี้ ท่านกล่าวหมาย
เอาสัตว์หรือสังขารที่ยิ่งใหญ่. คำว่า สตฺถุปิ โข เต นี้ ท่านพระ-
อานนท์ถามเพื่อจะทราบว่า ความโศกเป็นต้นไม่พึงเกิดขึ้นแก่พระเถระนี้
แม้เพราะความแปรปรวนแห่งพระศาสดาหรือหนอแล เพราะพระอานนท์
เถระมีความพอใจและความรักในพระศาสดาเหลือประมาณ. คำว่า
ทีฆรตฺตํ ท่านกล่าวหมายเอาเวลาที่ล่วงไปตั้งแต่วันที่ทรงแสดงเวทนา-
ปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก ที่ประตูถ้ำสุกรขาตา. ก็ในวันนั้น พระ-
เถระถอนกิเลสที่ไปตามวัฏฏะเหล่านี้ได้แล้วแล.
จบอรรถกถาอุปติสสสูตรที่ 2

3. ฆฏสูตร



ว่าด้วยเรื่องหม้อเกลือใหญ่



[691] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร
และท่านพระมหาโมลคัลลานะอยู่ในวิหารเดียวกัน ในพระเวฬุวันกลันทก-
นิวาปสถาน ครั้งนั้นแล เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้า
ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้สนทนาปราศรัยกับ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว