เมนู

9. ภิกขุสังยุต



1. โกลิตสูตร



ว่าด้วยดุษณีภาพอันประเสริฐ



[686] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาโมค-
คัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
ได้รับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว.
[687] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ความปริวิตกแห่งใจได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ผู้เร้นอยู่ในที่ลับ
อย่างนี้ว่า ที่เรียกว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดุษณีภาพอันประเสริฐ
ดังนี้ ดุษณีภาพอันประเสริฐเป็นไฉน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความ
ดำริได้มีแก่เราดังนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะระงับวิตกและ
วิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องไสแห่งใจในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียก
ว่าดุษณีภาพอันประเสริฐ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้น เพราะ
ระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็นความผ่องใสแห่งใจใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญาและมนสิการอันเกิด
ร่วมกับวิตก ย่อมฟุ้งขึ้น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้-

มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยฤทธิ์ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า โมค-
คัลลานะ ๆ ผู้เป็นพราหมณ์อย่าประมาทดุษณีภาพอันประเสริฐ เธอจง
รวมจิตตั้งไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงการทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้นในดุษณีภาพอันประเสริฐ จงตั้งจิตมั่นไว้ในดุษณีภาพอันประเสริฐ
สมัยต่อมา เรานั้น เพราะระงับวิตกและวิจารเสียได้ จึงเข้าทุติยฌาน เป็น
ความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ หมายถึงบุคคล
ใด พึงกล่าวว่าสาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความรู้
อันยิ่งใหญ่แล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวหมายถึงเรานั้นว่า
สาวกผู้อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ได้บรรลุความร้อนยิ่งใหญ่แล้ว
ดังนี้.
จบโกลิสูตรที่ 1

ภิกขุสังยุต



อรรถกถาโกลิตสูตรที่ 1



ภิกขุสังยุต โกลิตสูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาวุโส เป็นคำเรียกพระสาวก. จริงอยู่ พระผู้มีพระ-
ภาคผู้พุทธเจ้า
ทั้งหลาย เมื่อตรัสเรียกพระสาวก ย่อมตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว
ฝ่ายพระสาวกทั้งหลายคิดกันว่า พวกเราอย่าเป็นเหมือนพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ทีแรกกล่าวว่า อาวุโส ภายหลังกล่าวว่า ภิกฺขเว. ภิกษุ
สงฆ์ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสเรียก ย่อมตอบสนองพระดำรัสว่า ภนฺเต.
ภิกษุสงฆ์ที่พระสาวกทั้งหลายเรียก ย่อมตอบว่า อาวุโส.