เมนู

กรมตลอดปฐมยาม. แต่นั้นคิดว่า พวกเราอย่านอนหลับนาน นอนเพื่อ
บรรเทาความลำบากทางร่างกาย จึงนอนหนุนท่อนไม้. ก็ภิกษุเหล่านั้น
ลุกขึ้นในปัจฉิมยาม แล้วลงจงกรม. ท่านหมายเอาภิกษุเหล่านั้น จึง
กล่าวไว้ดังนี้ . ในรัชกาลแห่งพระเจ้าแผ่นดินถึง 3 รัชกาล เกาะแม้นี้ก็
เป็นที่มีเสียงระฆังเป็นอันเดียวกัน ได้เป็นพื้นที่สำหรับบำเพ็ญเพียรอัน
เดียวกัน ระฆังที่เขาตีที่วิหารต่าง ๆ ก็ดังประสมไปที่ปิลิจฉิโกฏินคร1
ระฆังที่เขาตีที่กัลยาณีวิหาร ก็ดังประสมไปที่นาคทวีป ภิกษุนี้จะถูกเขา
เหยียดนิ้วชี้ว่า ผู้นี้เป็นปุถุชน. ภิกษุทั้งหมดได้เป็นพระอรหันต์ในวัน
เดียวกัน. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่มารไม่ได้เครื่องหนุนคือ
ท่อนไม้เป็นอารมณ์.
จบอรรถกถากลิงครสูตรที่ 8

9. นาคสูตร



ว่าด้วยภิกษุใหม่เปรียบด้วยช้าง



[677] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง
เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านมีอายุ
อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอถูกพวกภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ จึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้า

1. ม. ปิลิจฺฉิโกฏิยํ.

ไปหา ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้ ครั้งนั้นแล พวกภิกษุมากรูปด้วยกัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุใหม่รูปหนึ่งในพระธรรม
วินัยนี้ เข้าไปสู่สกุลเกินเวลา ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธออย่างนี้ว่า ท่านผู้
มีอายุ อย่าเข้าไปสู่สกุลเกินเวลาเลย เธอเมื่อถูกภิกษุว่ากล่าวอยู่ ได้กล่าว
อย่างนี้ว่า ก็ภิกษุชั้นเถระเหล่านี้จักสำคัญสกุลทั้งหลายว่า ควรเข้าไปหา
ส่วนเราไฉนจักเข้าไปไม่ได้.
[688] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
เคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ช้างทั้งหลายอาศัยสระ
เหล่านั้นอยู่ ช้างเหล่านั้นลงสู่สระน้ำแล้ว ถอนเหง้าและรากบัวขึ้นด้วยงวง
ล้างให้ดีแล้ว เคี้ยวกินเหง้าและรากบัวที่ไม่มีเปือกตม ข้อนั้นย่อมเป็นไป
เพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ช้างเหล่านั้น ช้างเหล่านั้นย่อมไม่เข้าถึงความ
ตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนลูกช้างเล็ก ๆ สำเหนียก
ตามช้างใหญ่เหล่านั้นนั่นเทียว พวกมันลงสู่สระนั้นแล้ว ถอนเหง้าและราก
บัวขึ้นด้วยงวง ไม่ล้างให้ดีจึงเคี้ยวกินทั้งเปือกตม ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไป
เพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นย่อมเข้าถึง
ความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ.
[679] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เถระในธรรมวินัยนี้ก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เวลาเช้า นุ่งผ้าถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคม
เพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรมในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส

ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น
ไม่พัวพัน มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น
ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อวรรณะและเพื่อกำลังแก่ภิกษุผู้เถระเหล่านั้น พวก
เธอย่อมไม่เข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ส่วนพวก
ภิกษุใหม่ ผู้ตามสำเหนียกภิกษุผู้เถระเหล่านั้นนั่นเทียว เวลาเช้า นุ่งผ้า
ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอย่อมกล่าวธรรม
ในที่นั้น คฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เลื่อมใส ย่อมกระทำอาการเลื่อมใสแก่พวกเธอ
พวกเธอกำหนัด หมกมุ่น พัวพ้น มักไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็น
เครื่องสลัดออก ย่อมบริโภคลาภนั้น ข้อนั้นย่อมไม่เป็นไปเพื่อวรรณะ
และเพื่อกำลังของพวกเธอ พวกเธอย่อมเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เราทั้งหลายจักไม่กำหนัด ไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่อง
สลัดออกบริโภค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบนาคสูตรที่ 9

อรรถกถานาคสูตรที่ 9



ในนาคสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อติเวลํ ความว่า กาลที่ล่วงเวลาไป คือกาลที่ล่วงประมาณไป.
บทว่า กิมงฺคํ ปนาหํ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร เราจึงไม่เข้าไปหา. บทว่า
ภิสมูฬาลํ ได้แก่ เหง้า และรากน้อยใหญ่. บทว่า อพฺภุคฺคเหตฺวา1 ได้แก่
ถอนขึ้น. บทว่า ภิกจฺฉาปา ได้แก่ ลูกช้าง. ได้ยินว่า ลูกช้างเหล่านั้น
ร้องเหมือนเสียงช้างรุ่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่าลูกช้าง. บทว่า

1. ม. อพฺภุเหตฺวา.