เมนู

ได้ยิน.
บทว่า คมฺภีรา ความว่า ว่าโดยบาลีพระสูตรทั้งหลายที่ลึก เช่น
สัลลสูตร. บทว่า คมฺภีรตฺถา ความว่า ว่าด้วยอรรถ พระสูตรทั้งหลาย
ที่ลึก เช่นมหาเวทัลลสูตร. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่แสดงอรรถอันเป็น
โลกุตตระ. บทว่า สุญฺญตปฏิสญฺญุตฺตา ความว่า เหมือนประกอบ
ข้อความที่ประกาศเพียงสุญญตธรรมเท่านั้น. บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ
ปริยาปุณิตพฺพํ
ความว่า ที่ควรเล่าเรียนและควรศึกษา. บทว่า กวิกตา
ความว่า อันกวี คือนักปราชญ์รจนาไว้. นอกนั้นเป็นไวพจน์ของบทว่า
กวิกตา นั่นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา ได้แก่ มีอักษรวิจิตร. นอกนั้นเป็น
ไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั่นเอง. บทว่า พาหิรกา ได้แก่ มีภาย
นอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ความว่า พระสูตรเหล่านั้นเป็น
สาวกภาษิต. บทว่า สุสฺสุสิสฺสนฺติ ความว่า สามเณร ภิกษุหนุ่ม
มาตุคาม และมหาคหบดีเป็นต้น มีความพอใจ เพราะพระสูตรเหล่านั้นมี
อักษรวิจิตรและสมบูรณ์ด้วยการฟัง จักเป็นผู้ปรารถนาประชุมฟังด้วยคิด
ว่า ผู้นี้เป็นธรรมกถึก. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุนั้น พระสูตร
ทั้งหลายที่เป็นตถาคตภาษิต เมื่อพวกเราไม่ศึกษา ย่อมอันตรธานไป.
จบอรรถกถาอาณีสูตรที่ 7

8. กลิงครสูตร



ว่าด้วยหมอนท่อนไม้หนุนศีรษะและเท้า



[674] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส