เมนู

งอ ได้แก่ รวบปลายน้อมมาเหลือมเกลียวฝ่าย และคล้องรวมกันไว้
เหมือนเกลียวยางไม้. ชื่อว่า พับ ได้แก่ รวมตรงกลางแล้วน้อมมา หรือ
รวมเข้ากับคมแล้วเอาคมทั้ง 2 คล้องเข้าด้วยถัน. ชื่อว่า ม้วน ได้แก่
ม้วนเหมือนการกระทำอย่างเกลียวฝ้าย คลี่เสื่อลำแพนที่ม้วนไว้นานแล้ว
ม้วนกลับตามเดิม.
จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ 5

6. ธนุคคหสูตร



ว่าด้วยการจับลูกธนู



[670] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู 4 คน ถือธนูอันมั่นคง ได้ศึกษา
มาดีแล้ว เป็นผู้มีความชำนาญ เป็นผู้มีศิลปะอันได้แสดงแล้ว ยืนอยู่แล้ว
ในทิศทั้ง ถ้าบุรุษพึงมากกล่าวว่า เราจักจันลูกธนูทั้งหลายที่นายขมังธนู
ทั้ง 4 เหล่านี้ยิงมาจากทิศทั้ง 4 ไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ควรจะกล่าวได้ว่า บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วย
ความเร็วอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าแม้บุรุษจะพึง
จับลูกธนูที่นายขมังธนูเพียงคนเดียวยิง ไม่ให้ตกถึงแผ่นดิน ก็ควรจะกล่าว
ได้ว่า บุรุษผู้มีความเร็ว ประกอบด้วยความเร็วอย่างยอดเยี่ยม จะกล่าว
ไปไยถึงการจับลูกธนูทั้ง 4 ลูกที่นายขมังธนู 4 คนยิงมาจาก 4 ทิศ แม้

ฉันใด.
[671] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ความเร็วของ
พระจันทร์และพระอาทิตย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษนั้น ความเร็วของ
เทวดาที่ไปข้างหน้าพระจันทร์พระอาทิตย์ เร็วกว่าความเร็วของบุรุษและ
ความเร็วของพระจันทร์และพระอาทิตย์ อายุสังขารสิ้นไปเร็วกว่าความเร็ว
นั้น ๆ เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้
แหละ.
จบธนุคคหสูตรที่ 6

อรรถกถาธนุคคหสูตรที่ 6



ในธนุคคหสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฬฺหธมฺมา ธนุคฺคหา ได้แก่ นายขมังธนูผู้แม่นธนู-
ธนูที่ใช้กำลัง 2,000 คนโก่ง เรียกชื่อว่า ทัฬหธนุ (ธนูหนัก). บุคคล
ผู้โก่งธนู จับที่คันธนู ซึ่งผูกสายธนูแล้ว อันหนักด้วยเครื่องประกอบ
ที่หัวคันธนูมีโลหะเป็นต้น แล้วยกคันธนูขึ้น ให้พ้นพื้นดิน ชั่วระยะ
ลูกศรหนึ่ง. บทว่า สุสิกฺขิตา ได้แก่ ศิลปะที่เรียนในสำนักอาจารย์
ตลอด 12 ปี. บทว่า กตหตฺถา ความว่า ผู้ที่เรียนเฉพาะแต่ศิลปะ
เท่านั้น ไม่มีการฝึกฝีมือ. ส่วนชนผู้ฝึกฝีมือเหล่านี้ มีความชำนาญที่อบรม
มาแล้ว. บทว่า กตูปาสนา ได้แก่ ผู้ที่ประลองศิลปะในราชตระกูลเป็นต้น
แล้ว.