เมนู

อรรถกถาโอกขาสูตรที่ 4



ในโอกขาสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โอกฺขาสตํ ได้แก่ หม้อปากกว้าง 100 หม้อ. บทว่า ทานํ
ทเทยฺย
ความว่า พึงให้ทานหม้อใหญ่เต็มด้วยโภชนะประณีต 100 หม้อ.
บาลีว่า อุกฺกาสตํ ดังนี้ก็มี. ความของบาลีนั้นว่า ประทีปด้าม 100 ดวง
อธิบายว่า พึงถวายทานเต็มด้วยรัตนะ 7 ตลอดสถานที่ร้อยเท่าจากสถาน
ที่ที่แสงสว่างของประทีปดวงหนึ่งแผ่ไปถึง. บทว่า คทฺทูหนมตฺตํ ได้แก่
เพียงการหยดน้ำนมแห่งแม่โค อธิบายว่า เพียงการบีบหัวนมแม่โคครั้ง
เดียว. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เพียงสละกลิ่น คือเพียงใช้ 2 นิ้วจับ
ก้อนของหอมสูดดมครั้งเดียว. ก็ตลอดกาลแม้เพียงนี้ ผู้ใดสามารถเจริญ
เมตตาจิต แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้ง 4 ซึ่งหา
ประมาณมิได้ โดยกำหนดเอาห้องบริเวณและอุปจารวิหาร หรือโดยกำหนด
เอาจักรวาล การเจริญเมตตาจิตของผู้นั้นนี้มีผลมากกว่านั้น คือกว่าทาน
ที่เขาให้วันละ 3 ครั้ง.
จบอรรถกถาโอกขาสูตรที่ 4

5. สัตติสูตร



ว่าด้วยหอก



[668] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี... พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หอกมีใบอันคม ถ้าบุรุษพึงมากล่าวว่า

เราจักงอเข้า จักพับ จักม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมนี้ด้วยฝ่ามือ หรือด้วย
กำมือ ดังนี้ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเป็นผู้สามารถ
เพื่อจะงอเข้า เพื่อจะพับ เพื่อจะม้วน ซึ่งหอกมีใบอันคมโน้นด้วยฝ่ามือ
หรือด้วยกำมือได้หรือหนอ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร.
ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่าการที่จะงอเข้า จะพับและม้วน
ซึ่งหอกมีใบอันคมด้วยฝ่ามือหรือด้วยกำมือ กระทำไม่ได้ง่าย ก็แหละบุรุษ
นั้น พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากถ่ายเดียว แม้ฉันใด.
[669] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญ
เมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้เป็นประดุจยาน กระทำให้
เป็นที่ตั้งอาศัยให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี ถ้าอมนุษย์จะพึงกระทำจิต
ของภิกษุนั้นให้ฟุ้งซ่าน อมนุษย์นั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย
ลำบากถ่ายเดียว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึง
ศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ กระทำให้มาก กระทำให้
เป็นประดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้งอาศัย ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภด้วยดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบสัตติสูตรที่ 5

อรรถกถาสัตติสูตร



ในสัตติสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า ปฏิเลณิสฺสามิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า