เมนู

สมุทัยสัจที่ว่า ภพกับตัณหาเป็นเหตุให้เกิดชาติ. พึงประกอบสมุทัยกับตัณหา
ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ทราบเนื้อความด้วยอำนาจจตุสัจจะในทุก ๆ บท.
สามัญญะ และพรหมัญญะ ในคำว่า สามญฺญตฺตํ วา พฺรหฺมญฺญตฺตํ นี้
ได้แก่อริยมรรค. อรรถของสามัญญะและพรหมัญญะทั้งสอง พึงทราบว่า
อริยผล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจจะทั้ง 4 ในฐานะ 11 อย่างไว้ใน
พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ 3

4. ทุติยสมณพราหมณสูตร



ว่าด้วยเหตุแห่งความไม่เป็นสมณะและพราหมณ์



[40] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้จักธรรม
เหล่านี้ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้
ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักธรรมเหล่าไหน
ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่าไหน
ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน คือ ไม่รู้จักชราและ
มรณะ ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักความดับแห่งชราและ
มรณะ ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ไม่รู้จักชาติ. . .
ไม่รู้จักภพ. . . ไม่รู้จักอุปาทาน. . . ไม่รู้จักตัณหา. . . ไม่รู้จักเวทนา. . .
ไม่รู้จักผัสสะ. . .ไม่รู้จักสฬายตนะ. . . ไม่รู้จักนามรูป. . .ไม่รู้จักวิญญาณ. . .

ไม่รู้จักสังขาร ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร ไม่รู้จักความดับแห่งสังขาร
ไม่รู้จักปฏิปทาที่จะให้ความดับแห่งสังขาร ชื่อว่าไม่รู้จักธรรมเหล่านี้
ไม่รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ ไม่รู้จักปฏิ-
ปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะ
สมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่
พราหมณ์หาได้ไม่ และท่านเหล่านั้น มิได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ของความเป็นสมณะ หรือประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญา
อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
[ 1] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด
เหล่าหนึ่ง รู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับ
แห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จัก
ธรรมเหล่าไหน รู้จักเหตุเกิดแห่งธรรมเหล่าไหน รู้จักความดับแห่ง
ธรรมเหล่าไหน รู้จักปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งธรรมเหล่าไหน.
คือ รู้จักชราและมรณะ รู้จักเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ รู้จักความดับ
แห่งชราและมรณะ. รู้จักปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ รู้จัก
ชาติ. . . รู้จักภพ. . . รู้จักอุปาทาน. . . รู้จักตัณหา. . . รู้จักเวทนา. . .
รู้จักผัสสะ. . . รู้จักสฬายตนะ. . . รู้จักนามรูป. . . รู้จักวิญญาณ. . . รู้จัก
สังขาร รู้จักเหตุเกิดแห่งสังขาร รู้จักความดับแห่งสังขาร รู้จักปฏิปทาที่
จะให้ถึงความดับแห่งสังขาร ชื่อว่ารู้จักธรรมเหล่านี้ รู้จักเหตุเกิดแห่ง
ธรรมเหล่านี้ รู้จักความดับแห่งธรรมเหล่านี้ รู้จักปฏิปทาให้จะให้ถึง
ความดับแห่งธรรมเหล่านี้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล สมมติได้ว่า
เป็นสมณะในหมู่สมณะ และสมมติได้ว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

และท่านเหล่านั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ และ
ประโยชน์ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
ถึงอยู่.ื
จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4



ในทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระองค์ตรัสว่า อิเม ธมฺเม นปฺปชานนฺติ เป็นต้น ตาม
อัธยาศัยของบุคคลผู้ที่สามารถจะแทงตลอดเทศนาที่ตรัสให้เนิ่นช้ามีประมาณ
เท่านี้ ด้วยคำว่า อิเม กตเม ธมฺเม ดังนี้. คำที่เหลือก็เหมือน
ก่อนนั่นเอง.
จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตรที่ 4

5. กัจจานโคตตสูตร



ว่าด้วยพระกัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ



[42] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระ
กัจจานโคตต์
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมา-
ทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.
[43] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกัจจานะ โลกนี้