เมนู

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[622] ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
จบจักขุสูตรที่ 1
[พึงทำสูตรทั้ง 10 โดยเปยยาลเช่นนี้]

อรรถกถาทุติยวรรค



ใน

ทุติยวรรค สูตรที่ 1-10 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.



จบอรรถกถาสูตรที่ 1-10

11. อนุสยสูตร



ว่าด้วยการละอนุสัย



[632] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ท ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร อหังการ
มมังการ และมานานุสัย จึงจะไม่มีในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพ-
นิมิตภายนอก.
[633] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็น
ภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีต
ก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อริยสาวกย่อมเห็น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น
นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง... สัญญา
อย่างใดอย่างหนึ่ง... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง... วิญญาณอย่างใด
อย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี
ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี วิญญาณทั้งหมด
นั้น อริยสาวกย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า