เมนู

ทุติยวรรคที่ 2



1. จักขุสูตร



ว่าด้วยจักขุเป็นต้นไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา



[620] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุล
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[621] ครั้นท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค-
เจ้า
ได้ตรัสถามท่านว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. โสตะ. . . ฆานะ. . . ชิวหา. . . กาย. . . ใจ เที่ยงหรือ
ไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา.
รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[622] ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ
เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า จิตหลุดพ้นแล้ว อริยสาวกนั้น
ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
จบจักขุสูตรที่ 1
[พึงทำสูตรทั้ง 10 โดยเปยยาลเช่นนี้]

อรรถกถาทุติยวรรค



ใน

ทุติยวรรค สูตรที่ 1-10 มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.



จบอรรถกถาสูตรที่ 1-10