เมนู

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบตัณหาสูตรที่ 8

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ 8



แต่ในตัณหาสูตรที่ 8 จะได้ชื่อว่า ตัณหา ในเมื่อตกถึงชวนะ
ในทวารนั้น ๆ เท่านั้น.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 8

9. ธาตุสูตร



ว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้นไม่เที่ยง



[630] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ปฐวีธาตุ. . . อาโป-
ธาตุ. . . เตโชธาตุ. . . วาโยธาตุ. . . อากาสธาตุ. . . วิญญาณธาตุ
เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบธาตุสูตรที่ 9

อรรถกถาธาตุสูตรที่ 9



ในธาตุสูตรที่ 9 ตรัสนามด้วยอำนาจวิญญาณธาตุ ตรัสรูปด้วย
ธาตุที่เหลือ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันตรัสนามรูปไว้แล้ว.
จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ 9

10. ขันธสูตร



ว่าด้วยเบญจขันธ์ไม่เที่ยง



[631] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป. . . เวทนา. . .
สัญญา. . . สังขาร. . . วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรละหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา.
รา. ไม่ควรตามเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ
หน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย
ย่อมคลายความกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น ย่อมมีญาณ
หยั่งรู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว ดังนี้ อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
จบขันธสูตรที่ 10