เมนู

ราหุลสังยุต



อรรถกถาจักขุสูตรที่ 1



ราหุลสังยุตจักขุสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า เอโก ได้แก่มีปกติอยู่ผู้เดียวในอิริยาบถทั้ง 4. บทว่า
วูปกฏฺโฐ แปลว่า ปลีกตัวไป สลัดไป. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ตั้งอยู่
ในความไม่ปราศจากสติ. บทว่า อาตาปี ได้แก่ถึงพร้อมด้วยความเพียร.
บทว่า ปหิตตฺโต วิหเรยฺยํ ได้แก่เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อประโยชน์
แก่การบรรลุคุณวิเศษอยู่. บทว่า อนิจฺจํ ได้แก่ชื่อว่าไม่เที่ยง โดย
อาการที่มีแล้วก็ไม่มี. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าไม่เที่ยง ด้วยเหตุแม้เหล่านี้คือ
เพราะมีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. เพราะเป็นของเป็นไปอยู่ชั่วคราว
เพราะมีความแปรปรวนเป็นที่สุด เพราะปฏิเสธความเที่ยง. บทว่า ทุกฺขํ
ได้แก่ชื่อว่าทุกข์ด้วยเหตุ 4 ประการ คือ ด้วยอรรถว่า ทนได้ยาก ด้วย
อรรถว่า เป็นวัตถุที่ตั้งแห่งความทนได้ยาก. ด้วยอรรถว่า บีบคั้นสัตว์
ด้วยการปฏิเสธความสุข. ตรัสว่า ควรหรือ ยึดถือด้วยตัณหาว่า นั่นของเรา
ยึดถือด้วยมานะว่า เราเป็นนั่น ยึดถือด้วยทิฏฐิว่า นั่นเป็นตัวของเรา.
บรรดาความยึดถือเหล่านั้น ยึดถือด้วยตัณหา ก็พึงทราบโดยอำนาจตัณหา
วิปริต 108 ยึดถือด้วยมานะ ก็พึงทราบโดยอำนาจมานะ 9 ประการ
ยึดถือด้วยทิฏฐิ ก็พึงทราบโดยอำนาจทิฏฐิ 62. ในคำว่า นิพฺพินฺทํ
วิรชฺชติ
นี้ ตรัสมรรค 4 ด้วยอำนาจวิราคะ. ในคำว่า วิราคา วิมุจฺจติ นี้
ตรัสสามัญญผล 4 ด้วยอำนาจวิมุตติ.
ก็ในพระสูตรที่ 1 นี้ ทรงถือเอาปสาทะในทวาร 5. ทรงถือเอา
สมันนาหารจิตที่เป็นไปในภูมิ 3 ด้วยบทนี้ว่า มโน.
จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ 1

2. รูปสูตร



ว่าด้วยรูปเป็นต้นไม่เที่ยง



[623] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูป . . . เสียง. . .
กลิ่น. . . รส . . . โผฏฐัพพะ. . . ธรรมารมณ์ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
จบรูปสูตรที่ 2

อรรถกถารูปสูตรที่ 2



ในรูปสูตรที่ 2 ทรงถือเอาอารมณ์อย่างเดียว ในทวาร 5.
จบอรรถกถารูปสูตรที่ 2

3. วิญญาณสูตร



ว่าด้วยจักขุวิญญาณเป็นต้นไม่เที่ยง



[624] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักขุวิญญาณ. . .
โสดวิญญาณ. . . ฆานวิญญาณ. . . ชิวหาวิญญาณ. . . กายวิญญาณ. . .
มโนวิญญาณ. . . เที่ยงหรือไม่เที่ยง.