เมนู

บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม เธอข้องอยู่ อันปัจจัย
เกี่ยวไว้ ผูกไว้ในที่นั้นๆ ย่อมได้รับทุกข์ ถึงความพินาศในที่นั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบทีฆโลมสูตรที่ 4
สูตรที่ 4 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย

5. เอฬกสูตร



ว่าด้วยคนติดลาภสักการะเหมือนแมลงวัน



[547] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[548] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แมลงวันกินขี้เต็มท้อง และ
ข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า เรากินขี้
เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้ว
ก็ฉันนั้น เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน
หรือนิคม ฉันอยู่ ณ ที่นั้นพอแก่ความต้องการแล้ว และทายกนิมนต์
เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น แม้บิณฑบาตของเธอจะเต็มแล้ว เธอไปอาราม

แล้ว อวกอ้างที่ท่ามกลางหมู่ภิกษุว่า ผมฉันพอแก่ความต้องการแล้ว
ทายกยังนิมนต์เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น บิณฑบาตของผมก็เต็ม และยังจะ
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอีก ส่วนภิกษุ
เหล่าอื่นนี้มีบุญน้อย มีศักดิ์น้อย จึงไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธออันลาภสักการะและความสรรเสริญ
ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว ย่อมดูหมิ่นภิกษุเหล่าอื่นผู้มีศีลเป็นที่รัก ข้อนั้นของ
โมฆบุรุษนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
ลาภสักการะและความสรรเสริญ ทารุณ ฯ ล ฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบเอฬกสูตรที่ 5

อรรถกถาเอฬกสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในเอฬกสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กํสฬกา คือสัตว์กินคูถ. บทว่า คูถาทิ คือมีคูถ
เป็นภักษา. บทว่า คูถปูรา คือภายในเต็มด้วยคูถ. บทว่า ปุณฺณา
คูถสฺส
นี้ แสดงเนื้อความบทแรกเท่านั้น. บทว่า อติมญฺเญยฺย ความว่า
แมลงวันวางเท้าหลังไว้บนพื้น ยกเท้าหน้าวางไว้บนคูถ พึงพูดอย่างดูหมิ่น
ว่า เรามีคูถเป็นอาหาร ดังนี้เป็นต้น. บทว่า ปิณฺฑปาโตปสฺส1 ปูโร
ความว่า บิณฑบาตอันประณีตเต็มบาตร แม้อื่นอีกพึงมีแก่เขา.
จบอรรถกถาเอฬสูตรที่ 5

1. ม. ปิณฺฑปาโต จสฺส.