เมนู

อรรถกถาลาภสักการสังยุต



ปฐมวรรคที่ 1



อรรกถาสุทธกสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในสุทธกสูตรที่ 1 แห่งลาภสักการะสังยุต
ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทารุโณ คือกระด้าง. การได้ปัจจัย 4 ชื่อว่าลาภ ในบท
นี้ว่า ลาภสกฺการสิโลโก. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ลาภของภิกษุ
เหล่านั้น ที่พวกเขาทำดี คือปรุงแต่งไว้ดี. บทว่า สิโลโก คือ เสียง
สรรเสริญ. บทว่า กฏุโก คือคม. บทว่า ผรุโส คือแข็ง. บทว่า
อนฺตรายิโก คือทำอันตราย.
จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ 1

2. ทฬิสสูตร



ว่าด้วยลาภสักการะเหมือนเหยื่อเกี่ยวเบ็ด



[538] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตตี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษม
จากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า.
[539] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่

เหยื่อ กลืนเบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ด
ของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำ
ได้ตามความพอใจฉะนั้น.
[540] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อ
ของมารใจบาป คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะ และความ
สรรเสริญ ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะ และความสรรเสริญ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมาร ได้รับทุกข์ ถึง
ความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลาย ลาภ
สักการะและความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตราย
แก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล.
[541] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและความ
สรรเสริญเสีย และลาภสักการะและความสรรเสริญที่บังเกิดขึ้นแล้ว จัก
ครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.
จบพฬิสสูตรที่ 2

อรรถกถาพฬิสสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในพฬิสสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า พาฬิลิโก ได้แก่ พรานเบ็ดถือเอาเบ็ดเที่ยวฆ่าปลา. บทว่า
อามิสคตํ คือเกี่ยวด้วยเหยื่อ. บทว่า อามิสจกฺขุ ได้แก่ ชื่ออามิส-
จักษุ เพราะอรรถว่า เห็นเบ็ดติดเหยื่อ. บทว่า คิลพฬิโส คือกลิ่น
เบ็ด. บทว่า อนยํ อาปนฺโน ได้แก่ ถึงทุกข์. บทว่า พฺยสนํ อาปนฺโน