เมนู

อำนาจอุปมากับดวงจันทร์เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยก่อนเหมือน
กัน.
จบอรรถกถาจันทูปมสูตรที่ 3

4. กุลูปกสูตร



ว่าด้วยการเข้าไปสู่สกุลของภิกษุบางพวก



[474] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุชนิดไร สมควรเข้าไปสู่สกุล
ภิกษุชนิดไร ไม่สมควรเข้าไปสู่สกุล.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย
ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯ ล ฯ.
[475] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า ขอชนทั้งหลายจงให้แก่เราเท่านั้น
อย่าไม่ให้ จงให้แก่เราให้มาก อย่าให้น้อย จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น
อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง จงให้เราเร็วพลันทีเดียว อย่าให้ช้า จงให้เราโดย
ความเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพเข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้เข้าไปสู่สกุล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อม
อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชน
ทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ฯ ล ฯ ให้ของเศร้าหมอง ไม่ให้ของประณีต
ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกข-

โทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดย
เคารพ ภิกษุย่อมอึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อ
นั้นเป็นเหตุ ภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่ควรเป็นผู้เข้าไปสู่สกุล.
[476] ส่วนภิกษุใดแล มีความคิดอย่างนี้ว่า ขอให้ชนทั้งหลาย
ในสกุลอื่นจงให้เราเท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้เรามากเท่านั้น อย่าให้น้อย
จงให้เราแต่สิ่งประณีตเท่านั้น อย่าให้สิ่งเศร้าหมอง จงให้เราพลันทีเดียว
อย่าให้ช้า จงให้เราโดยเคารพเท่านั้น อย่าให้โดยไม่เคารพนั้น อันนั้น
จะพึงได้ในเรื่องนี้แต่ที่ไหน ดังนี้ เข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ
ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ เข้าไปสู่สกุล ชนทั้งหลายไม่ให้ ภิกษุย่อมไม่
อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อม
ไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้สิ่งเศร้าหมอง
ไม่ให้สิ่งประณีต. . . ให้ช้า ไม่ให้เร็ว ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น
เธอย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้โดยไม่
เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ภิกษุย่อมไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอย่อมไม่ได้
เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุเห็นปานนี้แล ควรเป็นผู้เข้า
ไปสู่สกุล.
[477] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปมีความคิดอย่างนี้ว่า ชน
ทั้งหลายจงให้แก่เราเท่านั้น อย่าไม่ให้ จงให้แก่เรามากทีเดียว อย่าให้
น้อย ฯ ล ฯ อันนั้นจะพึงได้ในเรื่องนี้แต่ที่ไหน ดังนี้ เข้าไปสู่สกุล ชน
ทั้งหลายไม่ให้ กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัส
ซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้น้อย ไม่ให้มาก กัสสปไม่อึดอัด

เพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลาย
ให้สิ่งเศร้าหมอง ไม่ให้สิ่งประณีต กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่
ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ชนทั้งหลายให้ช้า ไม่ให้โดยเร็ว
กัสสปไม่อึดอัดเพราะข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ
ชนทั้งหลายให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ กัสสปไม่อึดอัดเพราะ
ข้อนั้น เธอไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสซึ่งมีข้อนั้นเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย
เราจักกล่าวสอนพวกเธอให้ตามกัสสป หรือผู้ใดจะพึงเป็นเช่นกัสสป
เราจักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น พวกเธอเมื่อได้รับโอวาทแล้ว
พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.
จบกุลูปกสูตรที่ 4

อรรถกถากุลูปกสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในกุลูปกสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กุลูปโก ได้แก่ เข้าไปยังเรือนของตระกูล. บทว่า เทนฺตุเยว
เม
ได้แก่ จงให้แก่เราเท่านั้น. บทว่า สนฺทิยติ ได้แก่ อึดอัด บีบ
คั้นอยู่. คำที่เหลือในข้อนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถากุลูปกสูตรที่ 4

5. ชิณณสูตร



ว่าด้วยภิกษุผู้ชรากับการนุ่งห่มผ้าบังสุกุล



[478] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯ ล ฯ
กรุงราชคฤห์.
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-