เมนู

3. จันทูปมสูตร



ว่าด้วยเปรียบภิกษุจงทำตัวเป็นดุจพระจันทร์



[470] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่
เป็นนิตย์ เป็นผู้ไม่คะนองในสกุลทั้งหลายเข้าไปสู่สกุลเถิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงพรากกาย พรากจิต แลดูบ่อน้ำซึ่ง
คร่ำคร่า หรือที่เป็นหลุมเป็นบ่อบนภูเขา หรือแม่น้ำที่ขาดเป็นห้วง ฉันใด
พวกเธอจงเป็นประดุจพระจันทร์ จงพรากกาย พรากจิตออก เป็นผู้ใหม่
เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุล เข้าไปสู่สกุล ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กัสสปเปรียบประดุจพระจันทร์ พรากกาย พรากจิตออกแล้ว เป็นผู้ใหม่
อยู่เป็นนิตย์ ไม่คะนองในสกุลทั้งหลายเข้าไปสู่สกุล.
[471] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน ภิกษุชนิดไร จึงสมควรเข้าไปสู่สกุล.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย
ของข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
เถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทรงจำไว้ ดังนี้.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโบกฝ่าพระหัตถ์ในอากาศ

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ามือนี้ ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพันในอากาศ
ฉันใด จิตของภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพัน ฉันนั้น
เหมือนกัน โดยตั้งใจว่า ผู้ปรารถนาลาภ จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ
จงทำบุญ ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้พอใจ ดีใจ ด้วยลาภตามที่เป็นของตน ฉันใด
ก็เป็นผู้พลอยพอใจ ดีใจ ด้วยลาภของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น ภิกษุผู้เห็น
ปานนี้แล จึงควรเข้าไปสู่สกุล ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล
ไม่ข้อง ไม่ยึด ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย โดยคิดว่า ผู้ปรารถนาลาภ
จงได้ลาภ ส่วนผู้ปรารถนาบุญ จงทำบุญ ดังนี้ กัสสปเป็นผู้พอใจ ดีใจ
ด้วยลาภตามที่เป็นของตน ฉันใด ก็เป็นผู้พลอยพอใจ ดีใจ ด้วยลาภ
ของชนเหล่าอื่น ฉันนั้น.
[472] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน ธรรมเทศนาของภิกษุชนิดไร ไม่บริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของภิกษุ
ชนิดไรบริสุทธิ์.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย
ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
เป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ขอให้เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นพวก
เธอจงฟัง จงใจใส่ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ

รูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า โอหนอ
ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสซึ่งธรรม
ผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเรา ดังนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล ไม่บริสุทธิ์ ส่วนภิกษุใดแล
เป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญู-
ชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้น
ฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อ
ความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึง
แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์
จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์.
[473] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ ย่อม
แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควร
เรียกให้มาดู. ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน โอหนอ
ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม
ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัย
ความที่ธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความ
กรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรม

แก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์ จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักกล่าวสอนพวกเธอตามอย่างกัสสป หรือผู้ใด
พึงเป็นเช่นกัสสป เราก็จักกล่าวสอนให้ประพฤติตามผู้นั้น ก็แลพวกเธอ
ได้รับโอวาทแล้ว พึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้.
จบจันทูปมสูตรที่ 3

อรรถกถาจันทูปมสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในจันทูปมสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้.
บทว่า จนฺทูปมา ความว่า เธอทั้งหลาย จงเป็นเช่นดวงจันทร์
โดยความเป็นปริมณฑลอย่างไร. อีกอย่างหนึ่ง ดวงจันทร์โคจรอยู่บน
ท้องฟ้า ไม่ทำความคุ้นเคย ความเยื่อใย ความรักใคร่ ความปรารถนา
หรือความพยายามกับใคร. แต่จะไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของมหาชนก็หามิได้
ฉันใด. แม้พวกเธอ ก็เป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก เพราะไม่
ทำความคุ้นเคยเป็นต้นกับใคร เป็นดุจดวงจันทร์ เข้าไปสู่ตระกูล 4 มี
ตระกูลกษัตริย์เป็นต้นฉันนั้น. อนึ่ง ดวงจันทร์กำจัดความมืดส่องแสงสว่าง
ฉันใด. พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้ โดยนัยมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า พวกเธอเป็น
ดุจดวงจันทร์ด้วยการกำจัดความมืดคือกิเลส และด้วยการส่องแสงสว่าง
คือปัญญาฉันนั้น.
บทว่า อปกสฺเสว กายํ อปกสฺส จิตฺตํ ความว่า พราก คือ
คร่ามา นำออกไปทั้งกายและทั้งจิตด้วยการไม่ทำความคุ้ยเคยเป็นต้นนั้น
แล. ด้วยว่า ภิกษุใดไม่อยู่แม้ในป่า แต่ตรึกกามวิตกเป็นต้น. ภิกษุนี้
ชื่อว่าไม่พรากทั้งกายทั้งจิต. ส่วนภิกษุใด แม้อยู่ในป่า ตรึกกามวิตก