เมนู

พฺยสนํ ในบทเป็นต้นว่า ญาติพฺยสนํ ได้แก่ ความเสื่อม ความเสีย
คือความพินาศ. ความเสื่อมแห่งพวกญาติ ชื่อว่าญาติพยสนะ. ความเสื่อม
แห่งโภคะ ชื่อว่าโภคพยสนะ. ชื่อว่าพยสนะ เพราะความมีโรคของตนเอง
นั่นแล คือให้ความไม่มีโรคพินาศ คือฉิบหายไป. ความเสื่อมเป็นโรค
แน่นอน ชื่อว่าโรคพยสนะ.
จบอรรถกถาอัสสุสูตรที่ 3

4. ขีรสูตร



ว่าด้วยเปรียบน้ำนมกับน้ำในมหาสมุทร



[427] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้
กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เธอทั้งหลายจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้
ดื่มแล้ว กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไหนจะมากกว่ากัน.
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์
ย่อมทราบตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว น้ำมันมารดาที่พวก
ข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากกว่า
น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่มากกว่าเลย.
[428] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ๆ พวกเธอทราบธรรม
ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว น้ำนมมารดาที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา

อยู่โดยกาลนาน ดื่มแล้วนั่นแหละมากว่า น้ำในมหาสมุทรทั้ง 4 ไม่
มากกว่าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น
เบื้องปลายไม่ได้ ฯ ล ฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.
จบขีรสูตรที่ 4

อรรถกถาขีรสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในขีรสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุถญฺญํ ได้แก่ น้ำมันมารดา ผู้เป็นมนุษย์ มีชื่อผู้หนึ่ง.
จริงอยู่ ในเวลาสัตว์เหล่านี้บังเกิดในไส้เดือนและมดแดงเป็นต้น ในปลา
และเต่าเป็นต้น หรือในชาติปักษี น้ำมันแม่ไม่มีเลย. ในเวลาบังเถิดใน
แพะ สัตว์เลี้ยงและกระบือเป็นต้น น้ำมันมี. ในพวกมนุษย์ น้ำนมมีอยู่
เหมือนอย่างนั้น . บรรดากาลเหล่านั้น น้ำนม ที่เธอดื่ม ในกาลที่เธอ
ถือกำเนิดในครรภ์ของมารดาผู้มีชื่อผู้หนึ่งว่า "ติสสา" เท่านั้น โดย
ยังมิต้องนับในกาลที่ถือกำเนิดในสัตว์มีแพะเป็นต้น และแม้ในกาลที่ถือ
กำเนิดในครรภ์ของมารดาที่มีชื่อต่างๆ กัน อย่างนี้ว่า "เทวี สุมนา ติสสา
ในพวกมนุษย์" พึงทราบว่า ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง 4.
จบอรรถกถาขีรสูตรที่ 4

5. ปัพพตสูตร



ว่าด้วยเรื่องกัป



[429] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง