เมนู

ประโยชน์เหล่านั้น จะมีประมาณเช่นนั้นก็หามิได้. ส่วนในพุทธสมัย
อุปมามีน้อย. ประโยชน์มีมาก. แท้จริง เพราะในบาลีที่ท่านถือเอาชมพูทวีป
แห่งเดียว. หญ้าเป็นต้น พึงถึงการหมดสิ้นไป ด้วยความพยายามของ
ชาวชมพูทวีปเห็นปานนี้ในร้อยบ้าง พันปีบ้าง แสนปีบ้าง. ส่วนมารดา
ของคน พึงถึงการหมดสิ้นไป ก็หามิได้แล. บทว่า ทุกฺขํ ปจฺจนุภูตํ
ได้แก่ ท่านเสวยทุกข์. บทว่า ติปฺปํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุภูตํ
นั้นแล. บทว่า พฺยสนํ ได้แก่ หลายอย่างมีความเสื่อมแห่งญาติเป็นต้น.
บทว่า กฏสิ ได้แก่ ปฐพีที่เป็นป่าช้า. สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายบ่อย ๆ
ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้านั้น ด้วยการทิ้งสรีระไว้. บทว่า อลํ แปลว่า
พอเท่านั้น.
จบอรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ 1

2. ปฐวีสูตร



ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร



[423] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น
ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด
เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[424] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพี

นี้ให้เป็นก้อน ก่อนละเท่าเม็ดระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดา
ของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษ
นั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความ
พินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน เหมือนฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขาร
ทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ .
จบปฐวีสูตรที่ 2

อรรถกถาปฐวีสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในปฐวีสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้.
บทว่า มหาปฐวึ ได้แก่ มีจักรวาลเป็นที่สุด. บทว่า นิกฺขิเปยฺย
ความว่า บุรุษทำลายปฐพีนั้นปั้นให้เป็นก้อน มีประมาณที่กล่าวแล้ว
พึงวางไว้ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
จบอรรถกถาปฐวีสูตรที่ 2

3. อัสสุสูตร



ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร



[425] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า