เมนู

รูปสัญญา ประกอบด้วยจักขุวิญญาณ. บทว่า รูปสงฺกปฺโป ความว่า
ความดำริ ประกอบด้วยจิต 3 ดวง มีสัมปฏิจฉันนะเป็นต้น. บทว่า
รูปฉนฺโท ได้แก่ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่า มีความพอใจในรูป.
บทว่า รูปปริฬาโห ได้แก่ ชื่อว่าปริฬาหะ เพราะอรรถว่า ตามเผา
ในรูป. บทว่า รูปปริเยสนา ความว่า เมื่อความเร่าร้อนเกิดขึ้น การพา
เอาเพื่อนเห็นและเพื่อนคบไปแล้ว แสวงหาเพื่อได้รูปนั้น. ส่วนในที่นี้
สัญญา สังกัปปะ และฉันทะ ได้ในชวนวาระเดียวกันบ้าง ในชวนวาระต่าง
กันบ้าง. ส่วนปริฬาหะและปริเยสนา ได้ในชวนวาระต่างกันอย่างเดียว.
ในบทว่า เอวํ โข ภิกฺขเว ธาตุนานตฺตํ นี้ พึงทราบเนื้อความโดย
นัยนี้ว่า สัญญามีสภาพต่างกันมีรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยธาตุมีสภาพต่างกันมีรูปเป็นต้น.
จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7

8. โนสัญญสูตร



ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา



[346] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ฯ ล ฯ ความต่าง
แห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่ง