เมนู

อาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความ
ต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
เวทนาหามิได้ ความต่างแห่งธาตุบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่ง
ผัสสะหามิได้ อย่างนี้แล.
จบโนเวทนาสูตรที่ 5

อรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในโนเวทนาสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
ท่านแสดงนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรที่ 3 และสูตรที่ 4 รวมเป็น
อันเดียวกัน. ใน 4 สูตรมีสูตรที่ 2 เป็นต้น ท่านไม่ถือเอามโนธาตุว่า
มโนธาตุ แต่ถือเอามโนทวาราวัชชนะว่า มโนธาตุ. เมื่อท่านกล่าวอย่าง
นั้น ๆ ก็สูตรเหล่านั้นทั้งหมด ท่านแสดงตามอัธยาศัยของผู้รู้. แม้ใน
สูตรอื่นแต่นี้ ก็มีนัยนี้แล.
จบอรรถกถาโนเวทนาสูตรที่ 5

6. พาหิรธาตุสูตร



ว่าด้วยความต่างแห่งธาตุ



[343] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย . . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง. . .

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ สัททธาตุ คันธธาตุ รสธาตุ
โผฏฐัพพธาตุ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
จบพาหิรธาตุสูตรที่ 6

อรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ 6



สวนในสูตรที่ 6 ธาตุ 5 เป็นกามาวจร ธรรมธาตุเป็นไปใน
ภิมิ 4.
จบอรรถกถาพาหิรธาตุสูตรที่ 6

7. สัญญาสูตร



ว่าด้วยความต่างแห่งสัญญา



[344] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่าง
แห่งสังกัปปะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่ง
ฉันทะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งสังกัปปะ ความต่างแห่งปริฬาหะ
บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งฉันทะความต่างแห่งปริเยสนาบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งปริฬาหะ ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน รูปธาตุ
ฯ ล ฯ ธรรมธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ.
[345 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งสัญญาบังเกิดขึ้น