เมนู

จบอันตรเปยยาลอันเป็นหัวข้อพระสูตร
เบื้องต้นมีหัวข้อพระสูตร 12 หัวข้อ รวมเป็น 132 สูตรที่เปยยาล
ในระหว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสัจจะ 4.
จบหัวข้อในอันตรเปยยาลทั้งหลาย.

อันตรเปยยาลวรรคที่ 9



อรรถกถาสัตถุสูตรเป็นต้น



เบื้องหน้าแต่นี้ 12 สูตรที่เป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา ปริเย-
สิตพฺโพ
ดังนี้ ชื่อว่า อันตรเปยยาลวรรค. พระสูตรทั้งหมดนั้น
ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของเวไนยบุคคลผู้ตรัสรู้โดยประการนั้น ๆ. ในบท
เหล่านั้น. บทว่า สตฺถา ได้แก่ผู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม พระสาวกก็ตาม
ซึ่งเป็นที่อาศัยของผู้ได้มรรคญาณ นี้ชื่อว่าศาสดา ศาสดานั้นพึงแสวงหา.
บทว่า สิกฺขา กรณียา ได้แก่พึงทำสิกขาทั้ง 3 อย่าง. บรรดาโยคะเป็น
ต้น บทว่า โยโค ได้แก่การประกอบ. บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความ
พอใจในกุศล คือความเป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า อุสฺโสฬฺหิ ได้แก่ความ
เพียรที่มีประมาณยิ่งที่ทนต่อสิ่งทั้งปวง. บทว่า อปฺปฏิวานี แปลว่า
ไม่ถอยกลับ. บทว่า อาตปฺปํ ได้แก่ความเพียรอันทำกิเลสให้ร้อนทั่ว
คือวิริยะนั่นเอง. บทว่า สาตจฺจํ ได้แก่การกระทำเป็นไปติดต่อ.
บทว่า สติ ได้แก่สติที่กำหนดสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจชรา
และมรณะเป็นต้น. บทว่า สมฺปชญฺญํ ได้แก่ญาณเช่นนั้นแหละ.

บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่ความไม่ประมาทในการเจริญสัจจะ. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอันตรเปยยาลที่ 9


อภิสมยวรรคที่ 10



1. นขสิขาสูตร



ว่าด้วยเปรียบทุกข์ที่เหลือเท่าฝุ่นติดปลายเล็บ



[311] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเอาปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นเล็กน้อย แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นประ-
มาณน้อยนี้ที่เราเอาปลายเล็บช้อนขึ้น กับแผ่นดินใหญ่นี้ อย่างไหนจะ
มากกว่ากันหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แผ่นดินใหญ่นี้แหละมากกว่า ฝุ่นประมาณเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่
แล้ว ฝุ่นที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเอาปลายพระนขาช้อนขึ้นมีประมาณ
น้อย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 100 ไม่ถึงเสี้ยวที่ 1,000 ไม่ถึงเสี้ยวที่ 100,000
[312] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ความทุกข์ที่
หมดไป สิ้นไปนี้แหละ ของบุคคลผู้เป็นพระอริยสาวก สมบูรณ์ด้วย
ทิฏฐิ ตรัสรู้แล้ว มีมากกว่า ส่วนที่เหลือมีประมาณน้อย ความทุกข์เป็น
สภาพยิ่งใน 7 อัตภาพ เมื่อเทียบเข้ากับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปอันมีในก่อน
ไม่เข้าถึงเสี้ยวที่ 100 เสี้ยวที่ 1,000 เสี้ยวที่ 100,000 ดูก่อนภิกษุ