เมนู

อุปยนฺติ ความว่า อวิชชา ย่อมไหลไปเบื้องบนหรือสามารถเป็นปัจจัย
แก่สังขารทั้งหลาย. บทว่า สงฺขาเร อุปยาเปติ ความว่า ย่อมยังสังขารใน
เบื้องบนให้เป็นไป คือให้เจริญ. พึงทราบความทุกๆ บทด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อปฺยนฺโต ได้แก่ปราศไป คือแล่นลง. บทว่า อวิชฺชา อปยนฺติ
ความว่า อวิชชาไปปราศ คือแล่นลง ย่อมไม่สามารถเป็นปัจจัยแก่สังขาร
ในเบื้องบน. บทว่า สงฺขาเร อปยาเปติ ได้แก่ย่อมไม่ยังสังขารให้
ดำเนินไป. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
จบอรรถกถาอุปยสูตรที่ 9

10. สุสิมบุตร



ว่าด้วยการหลุดพ้นด้วยปัญญา



[278] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กลัน-
ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์.
สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดา
และมนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แม้ภิกษุสงฆฺ
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง
ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ แต่
พวกปริพาชกเดียรถีย์อื่น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลไม่ลักการะ ไม่
เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้

[280] สมัยนั้นแล สุสิมปริพาชกอาศัยอยู่ ณ กรุงราชคฤห์
กับปริพาชกบริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล บริษัทของสุสิมปริพาชกได้
กล่าวกะสุสิมปริพาชกว่า มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์
ในสำนักของพระสมณโคดม ท่านเรียนธรรมแล้ว พึงบอกข้าพเจ้าทั้งหลาย
พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้วจักกล่าวแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้
แม้พวกเราก็จักมีเทวดาและมนุษย์ทั้งมวลสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ยำเกรง จักได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขารเป็นปัจจัย
แก่คนไข้.
สุสิมปริพาชกยอมรับคำบริษัทของตน แล้วเข้าไปหาท่านพระ-
อานนท์
ถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น
ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นสุสิมปริพาชกนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน
พระอานนท์
ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
[281] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า สุสิมปริพาชกผู้นี้กล่าว
อย่างนี้ว่า พ่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรม
วินัยนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิม-
ปริพาชก
บวช.

สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า
แล้ว.
[282] สมัยนั้นแล ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอร-
หัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.
ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า ภิกษุเป็นอันมากอวดอ้างพระอรหัตผลใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น
อย่างนี้มิได้มี.
ทันใดนั้นเอง ท่านสุสิมะก็เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าว
กะภิกษุเหล่านั้นว่า ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายอวดอ้างพระอรหัตผลในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ดังนี้จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า จริงอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
[283] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงใน

แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้
เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
บ้างหรือหนอ.
ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.
[284] สุ . ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่
ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ บ้างหรือ
หนอ.
ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.
[285] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ คือจิตมี
ราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิต
มีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ. หรือจิตปราศจากโทสะ. ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต
ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมี
จิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิต
ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น บ้างหรือหนอ.

ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.
[286] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป
เป็นอันมากบ้าง คลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น แล้วมาเกิดในภพนี้ ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการฉะนี้บ้างหรือหนอ.
ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.
[287] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านรู้อยู่ เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุ
ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ-
อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย
เพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ส่วนสัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมา-
ทิฏฐิ เมื่อตายเพราะกายแตกดับไป ก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ย่อมเห็น
หมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้
ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นตามกรรมด้วยประการฉะนี้ บ้างหรือหนอ.
ภิ. หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านผู้มีอายุ.
[289] สุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำตอบนี้ และการไม่
เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ในบัดนี้ อาวุโส เรื่องนี้ เป็นอย่างไร
แน่.
ภิ. ท่านสุสิมะ ผมทั้งหลายหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
สุ. ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดย
พิสดารได้ ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวแก่ผม เท่าที่ผมจะพึงเข้าใจเนื้อความ
แห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.
ภิ. ท่านสุสิมะ ท่านพึงเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม แต่ผมทั้งหลาย
ก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
[290] ครั้งนั้นแล ท่านสุสิมะลุกจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านสุสิมะนั่งเรียบร้อยแล้ว กราบทูลถ้อยคำ
ที่สนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ว่าด้วยธรรมฐิติญาณ



พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า สุสิมะ ธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณ
ในพระนิพพานเกิดภายหลัง.
พระสุสิมะกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อ
ความแห่งคำที่พระองค์ตรัสไว้โดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
จงตรัสแก่ข้าพระองค์ เท่าที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่ง
พระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.
[291] พ. ดูก่อนสุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ตาม โดย
แท้จริงแล้วธรรมฐิติญาณเกิดก่อน ญาณในพระนิพพานเกิดทีหลัง สุสิมะ
เธอจะเข้าใจความข้อนั้นอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
สุ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
สุ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
สมควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
ตัวตนของเรา.
สุ. ข้อนี้ไม่สมควร พระเจ้าข้า.
พ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.