เมนู

10. นิทานสูตร



ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท



[224] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่
ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ1 แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล
ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่งเรียบ
ร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า
ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร
ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่าย ๆ แก่
ข้าพระองค์.
[ 225] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่า
กล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็น
ธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทง
ตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือหกลุ่มเส้น
ด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้น
อบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.
[226] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ใน
ธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

1. บางแห่งเป็น กัมมาสธัมมะ

โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[227] ดูก่อนอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้าง ๆ
รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่
นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด
อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหา
เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯ ล ฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[228] ดูก่อนอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกอง
ทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[229] ดูก่อนอานนท์ ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษ
เอาจอบและภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป ครั้นขุดลง
ไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้น ทอนต้นไม้นั้น
เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว เกรียกเป็นชิ้น ๆ แล้ว
พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอา
ไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลม
แรง หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น
ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิด
อีกต่อไป แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย

อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ
ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและ
อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
จบนิทานสูตรที่ 10
จบทุกขวรรคที่ 6

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ



1. ปริวีมังสนสูตร 2. อุปาทานสูตร
3. ปฐมสังโยชนสูตร 4. ทุติยสังโยชนสูตร
5. ปฐมมหารุกขสูตร 6. ทุติยมหารุกขสูตร
7. ตรุณรุกขสูตร 8. นามรูปสูตร
9. วิญญาณสูตร 10. นิทานสูตร.

อรรถกถานิทานสูตรที่ 10



ในนิทานสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สองบทว่า "กุรูสุ วิหรติ" ได้แก่ ประทับอยู่ในชนบทที่ได้ชื่อด้วย
อำนาจเรียกกันมากอย่างนี้ว่า กุรุ. นิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ
เพราะฉะนั้น นิคมของชาวกุรุจึงมีชื่ออย่างนี้. อธิบายว่า ทรงกระทำนิคม
นั้นให้เป็นโคจรคาม. คำว่า "ท่านผู้มีอายุ" นี้ เป็นคำเรียกด้วยความรัก
เป็นคำเรียกด้วยความเคารพ. คำว่า "อานันทะ" เป็นชื่อของพระเถระนั้น.
คำว่า " เอกมนฺตํ นิสีทิ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง" มีอธิบายว่า ท่านพระ-