เมนู

อรรถกถาทุติยสังโยชนสูตรที่ 4



ในทุติยสังโยชนสูตรที่ 4 พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเปรียบเทียบ
ก่อน แล้วจึงตรัสเนื้อความในภายหลัง. คำที่เหลือก็เหมือนกันนั่นเอง.
จบอรรถกถาทุติยสังโยชนสูตรที่ 4

5. ปฐมมหารุกขสูตร



ว่าด้วยธรรมที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน



[206] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[207] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีรากหยั่งลงและแผ่
ไปข้าง ๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดโอชารสไปเบื้องบน เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ฯ ล ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[208] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม

ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่ง
กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[209] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ตั้งอยู่อย่างนั้น ที่นั้น
บุรุษเอาจอบและภาชนะมา ตัดต้นไม้นั้นที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้น
ขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงทอน
ต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้วเกรียกให้เป็นชิ้น ๆ
แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดด ครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา
ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรย
ที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยว ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่
นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังต้นตาลยอดด้วน ถึงความ
ไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ
ภพจึงดับ ฯ ล ฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
จบปฐมมหารุกขสูตรที่ 5

อรรถกถาปฐมมหารุกขสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมมหารุกขสูตรที่ 5 ต่อไป.
ข้อว่า "อุทฺธํ โอชํ อภิหรนฺติ นำโอชาขึ้นเบื้องบน" ได้แก่
นำรสดินและรสน้ำขึ้นเบื้องบน. เพราะโอชาได้ถูกดูดขึ้นเบื้องบน ต้นไม้