เมนู

จิตดวงสุดท้าย เมื่อนั้น สรีระที่ไม่มีใจครองของพระขีณาสพนั้น จักเหลือ
อยู่ เหมือนกระเบื้องหม้อแล. ก็คำว่า สรีรานิ อวสิสฺสนฺตีติ ปชานาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเพื่อยกความพยายามของพระขีณาสพขึ้น.
บทว่า "วิญฺญาณํ ปญฺญาเยถ วิญญาณพึงปรากฏ" ได้แก่
ปฏิสนธิวิญญาณพึงปรากฏ. บทว่า "สาธุ สาธุ ดีละ ๆ" ได้แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชื่นชมการพยากรณ์ของพระเถระ. บทว่า
เอวเมตํ ความว่า คำว่า เมื่ออภิสังขาร 3 อย่างไม่มี ปฏิสนธิวิญญาณ
ก็ไม่ปรากฏเป็นต้น. คำนั้นก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อธิมุจฺจถ
ได้แก่ จงได้ความน้อมใจเชื่อ กล่าวคือความตกลงใจ. ข้อว่า "เอเสวนฺโต
ทุกฺขสฺส นั่นเป็นที่สุดทุกข์" ได้แก่ นี้แหละเป็นที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ
คือ นี้เป็นข้อกำหนด ได้แก่ พระนิพพาน.
จบอรรถกถาปริวีมังสนสูตรที่ 1

2. อุปาทานสูตร



ว่าด้วยอุปาทาน



[196 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล. . . พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ
ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะ

ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสก-
ปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อม-
มีด้วยประการอย่างนี้.
[197] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียน
บ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง
พึงลุกโพลง บุรุษใส่หญ้าแห้ง ใส่โคมัยแห้ง และใส่ไม้แห้งในไฟ
กองนั้นทุก ๆ ระยะ ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น
มีเชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปา-
ทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย
จึงมีอุปาทาน ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
[198] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรม
ทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับไป เพราะตัณหา
ดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติ
จึงดับ เพราะชาติดับ ชราและมรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[199] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟกองใหญ่แห่งไม้สิบเล่มเกวียน
บ้าง ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง
พึงลุกโพลง บุรุษไม่ใส่หญ้าแห้ง ไม่ใส่โคมัยแห้ง และไม่ใส่ไม้แห้งใน
กองไฟนั้นทุก ๆ ระยะ ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ไฟกองใหญ่นั้น
ไม่มีอาหาร พึงดับไป เพราะสิ้นเชื้อเก่า และเพราะไม่เติมเชื้อใหม่

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ.
จบอุปาทานสูตรที่ 2

อรรถกถาอุปาทานสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยอุปาทานสูตรที่ 2 ต่อไป.
บทว่า "อุปาทานีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน " ได้แก่ ใน
ธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน 4. บทว่า
" อสฺสาทานุปสฺสิโน เห็นความพอใจเนือง ๆ " คือ เห็นอยู่เนือง ๆ
ซึ่งความพอใจ. บทว่า "ตตฺร" คือ ในกองไฟนั้น. บทว่า " ตทาหาโร
มีอาหารอย่างนั้น." คือ มีปัจจัยอย่างนั้น. .คำว่า "มีเชื้ออย่างนั้น" เป็น
ไวพจน์ของปัจจัยนั้นนั่นเอง. ในคำว่า "เอวเมว โข" นี้ ภพ 3
หรือที่เรียกว่า วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 บ้าง พึงเห็นว่าเหมือนกองไฟ.
ปุถุชนผู้โง่เขลา ซึ่งอาศัยวัฏฏะคือความเวียนว่ายตายเกิด เหมือนบุรุษบำเรอ
ไฟ. การทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทางทวาร 6 ด้วยอำนาจตัณหา
เป็นต้น ของปุถุชนผู้เห็นความพอใจเนือง ๆ เหมือนการใส่โคมัยแห้งเป็น
ต้น. ความบังเกิดแห่งวัฏฏะทุกข์ในภพต่อๆไป เพราะปุถุชนผู้โง่เขลาลุกขึ้น
แล้วลุกขึ้นเล่า พยายามทำกรรมตามที่กล่าวแล้ว เหมือนเมื่อหญ้าและโคมัย
เป็นต้นหมดแล้ว กองไฟก็ยังลุกโพลงอยู่เรื่อยไป เพราะใส่หญ้าและโคมัย
เหล่านั้นเข้าไปบ่อย ๆ. ข้อว่า "น กาเลน กาลํ สุกฺขานิ เจว ติณานิ