เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กายนี้มิใช่ของพวกเธอ. ข้อว่า "นาปิ
อญฺเญสํ
ทั้งมิใช่ของผู้อื่น" คือ อัตตาของคนอื่นชื่อว่าเป็นอื่นไป. เมื่ออัตตา
นั้นมีอยู่ ที่ชื่อว่า อัตตาอื่นก็พึงมี ทั้งอัตตาอื่นนั้นก็ไม่มี. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทั้งมิใช่ของคนอื่น. ข้อว่า "ปุราณมิทํ
ภิกฺขเว กมฺมํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่านี้ " อธิบายว่า กรรมนี้มิใช่
กรรมเก่าเลย แต่กายนี้ บังเกิดเพราะกรรมเก่า เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้อย่างนี้ด้วยปัจจยโวหาร. บทว่า อภิสงฺขตํ เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยศัพท์เป็นเพศชายโดยอำนาจแห่งกรรมโวหาร
นั่นเอง. ก็ในคำว่า อภิสงฺขตํ เป็นต้นนี้ มีอธิบายดังนี้ บทว่า อภิสงฺขตํ
ได้แก่ กายนี้พึงเห็นว่า อันปัจจัยแต่งแล้ว. บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ ได้แก่
พึงทราบว่ามีเจตนาเป็นที่ตั้ง คือมีความจงใจเป็นมูล. บทว่า เวทนียํ
ได้แก่ พึงทราบว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.
จบอรรถกถานตุมหสูตรที่ 7

8. ปฐมเจตนาสูตร



ว่าด้วยความเกิดและดับกองทุกข์



[145] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมจงใจ ย่อมดำริ และครุ่นคิด
ถึงสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นอารัมมณปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เมื่อมี
อารัมมณปัจจัย ความตั้งมั่นแห่งวิญญาณจึงมี เมื่อวิญญาณนั้นตั้งมั่นแล้ว