เมนู

ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกาย
ชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพ ย่อมไหว้
พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน. ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของ
พระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร. ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก. จริงอยู่
กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่
เพียงเป็นกิริยา. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้น ของ
พระขีณาสพนั้นไม่มี. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้น
ดังนี้. กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่า งอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัย. ไม่เป็น
อธิกรณ์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนา
ใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็น
อายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์
มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนา
เป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.
จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ 5

6. อุปวาณสูตร



ว่าด้วยทุกข์เกิดเพราะผัสสะ



[85] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้นนั้นแล ท่านพระอุปวาณะ
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[86] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
ย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง ส่วนสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติ
ว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์ตน
ทำเองด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า ทุกข์
เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในวาทะทั้ง 4 นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร
ตรัสบอกไว้อย่างไร ข้าพระองค์พยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าเป็นผู้กล่าว
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คำไม่จริง และจะพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ
ที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.
[87] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปวาณะ เรากล่าว
ทุกข์เป็นของอาศัยเหตุเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยอะไรเกิดขึ้น ทุกข์อาศัยผัสสะ
เกิดขึ้น บุคคลผู้กล่าวดังนี้ จึงจะชื่อว่าเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าวแล้ว
ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อย
ตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้ ดูก่อน
อุปวาณะ ในวาทะทั้ง 4 นั้น แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า
ตนทำเอง ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯลฯ แม้ทุกข์ที่พวก
สมณพราหมณ์บัญญัติว่าเกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่
ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูก่อนอุปวาณะ
ในวาทะทั้ง 4 นั้น พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้น
ผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ ล ฯ พวก

สมณพราหมณ์บัญญัติว่า ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ
มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้.
จบอุปวาณสูตรที่ 6

อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ 6



อุปวาณสูตรที่ 6

มีความง่ายทั้งนั้น. แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสเฉพาะ
วัฏทุกข์อย่างเดียว.
จบอรรถกถาอุปวาณสูตรที่ 6

7. ปัจจยสูตร



ว่าด้วยเหตุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ



[88 ] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ฯ ล ฯ1 ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.
[89] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน. ความแก่
ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่ง
อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ
นี้เรียกว่าชรา. ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความ
อันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอด

1. เหมือนข้อ 4-5