เมนู

ก็ชื่อว่าวาจา. กรรมมโนนั่นแล แม้ก็ชื่อว่ามนะ. อีกนัยหนึ่ง ทวารกาย
ชื่อว่ากาย. แม้ในวาจาและมนะ ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระขีณาสพ ย่อมไหว้
พระเจดีย์ กล่าวธรรม ใส่ใจกัมมัฏฐาน. ถามว่า กายกรรมเป็นต้นของ
พระขีณาสพ ไม่มีอย่างไร. ตอบว่า เพราะกรรมนั้นไม่มีวิบาก. จริงอยู่
กรรมที่พระขีณาสพทำ ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่มีวิบาก ตั้งอยู่
เพียงเป็นกิริยา. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กายกรรมเป็นต้นเหล่านั้น ของ
พระขีณาสพนั้นไม่มี. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เขตฺตํ น วา โหติ เป็นต้น
ดังนี้. กรรมนั้น ไม่เป็นเขต เพราะอรรถว่า งอกผล. ไม่เป็นวัตถุ เพราะ
อรรถว่า เป็นที่ตั้ง. ไม่เป็นอายตนะ เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัย. ไม่เป็น
อธิกรณ์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ. ความจริง สุขทุกข์ภายในอันมีเจตนา
ใดเป็นมูล พึงเกิดขึ้น. สัญเจตนานั้น ไม่เป็นเขต ไม่เป็นวัตถุ ไม่เป็น
อายตนะ ไม่เป็นอธิกรณ์ แห่งสุขทุกข์นั้น เพราะไม่มีผลประโยชน์
มีการงอกผลเป็นต้นเหล่านั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสสุขทุกข์เท่านั้นในเวทนา
เป็นต้น. ก็สุขทุกข์นั้นแล เป็นวิบากอย่างเดียวแล.
จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ 5

6. อุปวาณสูตร



ว่าด้วยทุกข์เกิดเพราะผัสสะ



[85] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้นนั้นแล ท่านพระอุปวาณะ
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.