เมนู

เป็นของผ่องใส ในอรรถว่า ทำประโยคความเพียรแล้วดื่มได้. แท้จริง
ของภายนอก แม้แต่เภสัชยาที่ใส อยู่ลับหลังหมอ ผู้ดื่มก็มีความสงสัยว่า
เราไม่รู้ขนาดหรือ หรือว่าการเพิ่มการลด. แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าหมอ ผู้ดื่ม
ก็หมดสงสัยดื่ม ด้วยคิดว่า หมอจักรู้. พระศาสดาผู้เป็นเจ้าของธรรม
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงประกอบสัตว์ไว้ในพรหมจรรย์แม้ที่ใสและควรดื่ม
ด้วยตรัสว่า พวกเธอจงพยายามดื่มเสีย เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ติห
ภิกฺขเว.
บรรดาเหล่านั้น บทว่า สผลา ได้แก่มีอานิสงส์. บทว่า
สอุทฺริยา ได้แก่มีผลเพิ่ม คือกำไร. บทว่า อตฺตตฺถํ ได้เเก่พระอรหัต
อันเป็นประโยชน์แก่ตน. บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทตุํ ได้แก่เพื่อทำกิจ
ทุกอย่างด้วยความไม่ประมาท. บทว่า ปรตฺถํ ได้แก่ผลเป็นอันมาก
ของผู้ถวายปัจจัย. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยทสพลสูตรที่ 2

3. อุปนิสสูตร



ว่าด้วยธรรมที่อิงอาศัยกัน



[68] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้อยู่ เห็นอยู่ เราจึงกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็น เราก็มิได้กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรารู้เราเห็นอะไรเล่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายย่อมมี เมื่อเรารู้เราเห็นว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
ดังนี้ความดับแห่งรูป. . .ดังนี้เวทนา. . .ดังนี้สัญญา. . .ดังสังขาร

ทั้งหลาย. . .ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เรารู้ เราเห็นอย่างนี้แล ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมี.
[69] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป1 เกิดขึ้นแล้ว
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า
มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป
ควรกล่าวว่า วิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าว
ว่า นิพพิทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า
เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ
ที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า สมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวแม้ซึ่งสมาธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า
สุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าว

1. อรหัตผล

ว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง
ปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุ
ที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควร
กล่าวว่า ความปราโมทย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความ
ปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าว
ว่า ศรัทธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ
ที่อิงอาศัยแห่งศรัทธา ควรกล่าวว่า ทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
แม้ซึ่งทุกข์ว่ามีเหตุเป็นที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งทุกข์ ควรกล่าวว่า ชาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งชาติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งชาติ
ควรกล่าวว่าภพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งภพว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่
อิงอาศัยแห่งภพ ควรกล่าวว่า อุปาทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้
ซึ่งอุปาทานว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งอุปาทาน ควรกล่าวว่า ตัณหา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งตัณหาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า

ไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัย
แห่งตัณหา ควรกล่าวว่า เวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งเวทนา
ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งเวทนา ควรกล่าวว่า ผัสสะ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งผัสสะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มี
เหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่ง
ผัสสะ ควรกล่าวว่า สฬายตนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่ง
สฬายตนะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสฬายตนะ ควรกล่าวว่า
นามรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนามรูปว่ามีเหตุที่อิงอาศัย
มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุ
ที่อิงอาศัยแห่งนามรูป ควรกล่าวว่า วิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวแม้ซึ่งวิญญาณว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิญญาณ ควร
กล่าวว่า สังขารทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งสังขาร
ทั้งหลายว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย ควรกล่าวว่า
อวิชชา ด้วยเหตุดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย มีอวิชชาเป็นที่
อิงอาศัย วิญญาณมีสังขารเป็นที่อิงอาศัย นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อิงอาศัย
ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อิงอาศัย เวทนาที่ผัสสะเป็นที่อิงอาศัย ตัณหามี
เวทนาเป็นที่อิงอาศัย อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อิงอาศัย ภพมีอุปาทานเป็น
ที่อิงอาศัย ชาติมีภพเป็นที่อิงอาศัย ทุกข์มีชาติเป็นที่อิงอาศัย ศรัทธามี

ทุกข์เป็นที่อิงอาศัย ความปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อิงอาศัย ปีติมีปราโมทย์
เป็นที่อิงอาศัย ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อิงอาศัย สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อิงอาศัย
สมาธิมีสุขเป็นที่อิงอาศัย ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อิงอาศัย นิพพิทา
มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อิงอาศัย วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อิงอาศัย วิมุตติ
มีวิราคะเป็นที่อิงอาศัย ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไปมีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย.
[70] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ตกอยู่บนยอดภูเขา
น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขา ระแหง และห้วยให้เต็ม ซอกเขา
ระแหงและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว. ย่อมยังหนองทั้งหลายให้เต็ม หนอง
ทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังบึงทั้งหลายให้เต็ม บึงทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว
ย่อมยังแม่น้ำน้อย ๆ ให้เต็ม แม่น้ำน้อย ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังแม่น้ำ
ใหญ่ ๆ ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ ๆ เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรให้เต็ม
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อิงอาศัย ฯลฯ
ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป มีวิมุตติเป็นที่อิงอาศัย ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบอุปนิสสูตรที่ 3

อรรถกถาอุปนิสสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในอุปนิสสูตรที่ 3 ดังต่อไปนี้.
ในบททั้งหลายมีว่า ชานโต อหํ เป็นต้น บทว่า ชานโต แปลว่า
รู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่. แม้ทั้ง 2 บท ก็มีความอย่าง
เดียวกัน ต่างแต่พยัญชนะเท่านั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น บทว่า ชานโต
จึงชี้บุคคลอาศัยลักษณะแห่งญาณ. ด้วยว่า ญาณมีความรู้ทั่วถึงเป็น
ลักษณะ. บทว่า ปสฺสโต ชี้บุคคลอาศัยอานุภาพแห่งญาณ. ด้วยว่า